มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี ค.ศ. 2032 โดยกำหนดเป็น 1 ในนโยบายแผน 13 ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งสร้างต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ Carbon Neutral University นั้น จะดำเนินการตามหลัก 5 THEMEs ภายใต้ Agenda 2 ของแผนยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)
การบริหารฟุตพริ้นท์องค์กร (Organization GHG Management)
- จัดทำและประเมิน CFO (Carbon Footprint for Organization) ขององค์กร
- การประเมินและขอรับรองตามมาตรฐาน
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
มาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
- การลดที่แหล่งกำเนิด
- การลดที่แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การลดก๊าซเรือนกระจก จากการกำจัดของเสีย
การชดเชยและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Offset & Sinks)
- จัดหาคาร์บอนเครดิตเพื่อการ Offset
- จัดหาคาร์บอนซิงค์ ปลูกป่า
การปรับตัวและความพร้อมต่อการรับมือ (Adaptation and Resilience)
- การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
- การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอบรมหลักสูตร วิจัย และความร่วมมือภายนอก (Education, Research and Outreaches)
- โครงการเพิ่มจำนวนทวีคูณ บุคลากรคาร์บอน
- ศูนย์กลางและฝึกอบรมด้านคาร์บอน
- การสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์
เป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutral University
ตัวอย่างการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral University
- การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Solar Rooftop) รวมถึงระบบผลิตพลังงานความร้อน Solar Collector ณ หอพักนักศึกษา สามารถลดค่าไฟฟ้า และลดการปล่อยคาร์บอน รวมกว่า 8,000 tCO2e/ปี
- กิจกรรมนักศึกษาที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีการรณรงค์ในการจัดการขยะอย่างครบวงจร มีการแยกชนิดของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดการ เช่น กิจกรรมรับน้องขึ้นดอยประจำปี 2566, ขบวนแห่กระทงใหญ่ “โคมคำ สุวรรณหงส์” และกิจกรรมนักศึกษาอื่นๆ ที่จัดขึ้น
- “รถม่วง” รถขนส่งมวลชน EV ไฟฟ้า ที่วิ่งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อลดมลพิษในอากาศ และลดความคับคั่งของการจราจรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED หรือหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้างเครื่องปรับอากาศ
- พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวิทยาเขต ช่วยให้เกิดความร่มรื่นแก่นักศึกษา บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายไปอีกทางหนึ่งด้วย
รางวัลระดับประเทศด้านลดก๊าซเรือนกระจก
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMUI) ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองในการเป็นองค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก Climate Action Leading Organization จากเครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมถึงรางวัล Thailand Energy Award 2023 ระดับดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท ซีพีพี จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ขนาด 6 ตันต่อวัน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดโดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสามารถปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซ NGV
Source:
มช. มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี 2032 พร้อมดึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมจัดการเมืองอัจฉริยะ CMU Smart City ตอกย้ำการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน
CMU Pathway to Carbon Neutrality
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO)
ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน (CMU SDGs)
โครงการของ ERDI เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality University