CMU SDGs

CMU SDGs

เครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่: การขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในระดับประเทศและระดับสากล

จำนวนผู้เข้าชม : 297 | 21 ส.ค. 2567
SDGs:
3 9 17

SDGs 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพในระดับต่างๆ

เครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่: การขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในระดับประเทศและระดับสากล

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างความร่วมมือระหว่างคณะสายสุขภาพกับมหาวิทยาลัย องค์กร และหน่วยงานทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับสากล เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางการศึกษา วิจัย และการบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งดูแลสถานพยาบาลสำคัญอย่างโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับหลากหลายมหาวิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อยกระดับคุณภาพการรักษาและการศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น

ความร่วมมือระดับสากล: Global Collaboration


ศูนย์ความร่วมมือ WHO เพื่อป้องกันและควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)


องค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (MedCMU) ในการจัดตั้ง “ศูนย์ความร่วมือ WHO เพื่อป้องกันและควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)” โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566

ภารกิจหลักคือ 1) เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและการดําเนินงานวิจัยด้านการจัดการการป้องกันและควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ในระดับปฐมภูมิและ 2) เพื่อให้การฝึกอบรมและการเสริมสร้างขีดความสามารถสําหรับผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิในการป้องกันและควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เซ็น MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรองรับการเปิดโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศลาว


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สปป.ลาว ลงนามต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านการแพทย์ โดยเป็นความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ โดยผู้บริหารทั้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University, SNU) จากเกาหลีใต้ เพื่อก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งแรก ณ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สปป.ลาว โดยได้รับงบประมาณจากเกาหลีใต้และความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีและบุคลากรทางการแพทย์จาก SNU มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ SNU ยังร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาที่จำเป็นและขาดแคลน เช่น แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร คาดว่าโรงพยาบาลจะเปิดทำการในปี พ.ศ. 2568

 

ความร่วมมือระดับประเทศ: National Collaborations



คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ผู้แทน มช. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยสุขภาพภาคเหนือตอนบน เครือข่ายมหาวิทยาลัย TUN-HPN และ สสส.


เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมดวงตะวันเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานมหาวิทยาลัยสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนบน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือตอนบน 11 แห่ง เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย มหาวิทยาลัยสุขภาพ (TUN-HPN) และ สสส. ภายใต้โครงการ Healthy CMU ปีที่ 2 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วณิชา พึ่งชมภู เป็นหัวหน้าโครงการ

 

โดยการประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการศึกษา และสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายภาคเหนือตอนบนและเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและสังคมด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ สามารถขยายผลในวงกว้าง สร้างสังคมสุขภาวะ และมีพลเมืองที่สุขภาพดีในการพัฒนาประเทศต่อไป

 

ระดับท้องถิ่น Local Collaborations


มช. เชื่อมพลัง โรงพยาบาลลำพูน บูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรม ต่อยอดสร้างสรรค์ นวัตกรรมทางการแพทย์ โดยมี รากฐากมาจากงานวิจัยในรั้วมหาวิทยาลัย



เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับโรงพยาบาลลำพูน ณ NSP Exhibition Hall จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาในทางการแพทย์ โดยเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปใช้ในการพัฒนาระบบการแพทย์และสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ โดยมีผู้บริหารจากทั้งสองหน่วยงานเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งการลงนามดังกล่าวได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแพทย์หญิงภาวิณี เอี่ยมจันทน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำพูน ร่วมกล่าวแสดงความยินดีและรายงานความสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้

 

ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์จาก มช. มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับมาตรฐานการรักษาของโรงพยาบาลลำพูน อาทิ นวัตกรรมพลาสมาอากาศที่มีประสิทธิภาพในการรักษาแผลเรื้อรัง ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ระหว่างทั้งสองหน่วยงานอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพการบริการทางการแพทย์และขยายการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงในอนาคต

 

??

SDGs 3 : Good Health and Wellbeing สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย



 

Source

https://www.nurse.cmu.ac.th/web/en/Detail.aspx?id=4136

https://www.cmu.ac.th/th/article/e1cdd8a6-a07c-4b04-b7e0-b6b5aae128ad

https://www.cmu.ac.th/th/article/16b22079-84f8-442e-bb11-1e4f22e068d9

https://www.cmu.ac.th/th/article/5bba2757-c46d-4fa3-a2f5-4f94c7001a50

แกลลอรี่
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social