CMU SDGs

CMU SDGs

มช. เขย่าวงการสตาร์ทอัพไทย เปิดตัว “builds” โปรแกรมปั้นสตาร์ทอัพจากนักศึกษาแบบครบวงจร ที่แรกในประเทศ พร้อมผสานความร่วมมือในการให้ความรู้ผ่าน LiVE Platfom ของตลาดหลักทรัพย์ ตั้งเป้าดันนักศึกษา 4,200 ราย สร้างธุรกิจจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้เข้าชม : 593 | 14 ก.ย. 2566
SDGs:
4 8

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดตัว โปรแกรม builds (CMU Startup & Entrepreneurial Platform) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) โดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม โดยหนึ่งในเป้าหมายของมหาวิทยาลัย คือการสร้างผลกระทบทางเศษฐกิจของประเทศไทย 60,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 4 ปี โดยก้าวสำคัญในการทำเป้าหมายให้สำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นในการผลักดันสตาร์ทอัพ ที่มีรากฐานจากงานวิจัยในมหาวิทยาลัย โดยเปิดโอกาสให้ นักศึกษาได้นำงานวิจัยหรือเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยมาสร้างเป็นธุรกิจผ่านการ Spin-off ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือของประเทศไทย

อธิการบดี มช. ได้ให้เหตุผลสำคัญ 4 ประการ ในการผลักดันให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ยังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ได้แก่ 1. ช่วยสร้างทักษะของผู้ประกอบการที่จำเป็นในอนาคต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะมีทักษะความรู้เชิงลึกในด้านความเป็นผู้ประกอบการ ที่จะช่วยให้สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือการบริหารจัดการ 2. เพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ Tech Spin-off จาก มช. โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและงานวิจัย ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยมาสร้างธุรกิจในรูปแบบของสตาร์ทอัพ ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตและสามารถที่สร้างมูลค่าสูงได้ 3. เกิดการจ้างงานทักษะสูงในพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม โปรแกรมเมอร์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะสร้างโอกาสโดยการเพิ่มศักยภาพและทักษะแล้ว ยังช่วยให้มีงานรองรับในภูมิภาค ทำให้มีโอกาสทำงานในภูมิลำเนา โดยไม่ต้องจากครอบครัวไปทำงานที่ส่วนกลางหรือในเมืองหลวงเพียงอย่างเดียว 4. เป็นเครื่องมือช่วยเร่งการแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น การผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเร่งการแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ทำให้เกิดธุรกิจ การจ้างงาน การสร้างรายได้ ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านการบริหารนวัตกรรมกล่าวว่า การเปิดตัวโปรแกรม builds ซึ่งเป็นโปรแกรมการสร้างสตาร์ทอัพและความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในวันนี้ มุ่งหวังที่จะสร้างกลไกการสนับสนุนและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ

.
ข้อมูลเพิ่มเติม

ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social