CMU SDGs

CMU SDGs

กิจกรรมฝึกอบรมสำหรับเพื่อเพิ่มทักษะ เรียนรู้ได้ทุกช่วงวัย

จำนวนผู้เข้าชม : 468 | 26 ส.ค. 2567
SDGs:
4 11 17

SDGs 4.3.3 กิจกรรมฝึกอบรมวิชาชีพ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิสัยทัศน์ในการรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม หนึ่งในความรับผิดชอบคือการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชน หรือผู้ประกอบการที่สนใจ ได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ นำไปพัฒนาความรู้และคุณภาพชีวิต โดยกิจกรรมเหล่านี้มีทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite โดยกิจกรรมเหล่านี้เป็นการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการศึกษา (SDGs 4)


ศูนย์บริการวิชาการฯ ร่วมกับศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ มช. จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร การสร้างบอนไซ ศิลปะจากต้นไม้ที่มีชีวิต

     

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มช. ร่วมกับศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างบอนไซ ศิลปะจากต้นไม้ที่มีชีวิต” แก่นักศึกษาเก่า มช. จำนวน 30 คน โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.อฬิญญา พงษ์วาท ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ มช. เป็นประธานในพิธีเปิด เเละได้รับเกียรติจากชมรมคนรักบอนไซเชียงใหม่-ลำพูน ดาบตำรวจสมาน มณีจักร ประธานชมรมฯ อาจารย์ปกรณ์ ไทยานันท์ ที่ปรึกษาชมรมฯ อาจารย์ทรงชัย สมปรารถนา เลขาชมรมฯ และนายนิรัช ก้อนใจ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สังกัดศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มช. เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก"


     

วันที่ 2 – 4 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก" โดยมีการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเรือนเครื่องผูก และการใช้ไม้ไผ่สร้างสรรค์งานทางสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว และอาจารย์ภูมิ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ นอกจากนี้ ในส่วนของการฝึกปฏิบัติลงมือจริง ยังมีทีมสล่าทนันชัย บุญเทียม และคณะ ที่เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการสร้างเรือนไม้ไผ่ ซึ่งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มี 3 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. โครงสร้างของเรือนและการจักตอกเพื่อเป็นวัสดุมัดยึด 2. งานหลังคากับพื้น 3. งานผนังกับส่วนตกแต่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 95 คน ได้แก่ นักศึกษาสาขาด้านสถาปัตยกรรม และนักศึกษาที่สนใจ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากที่มีการเรียนรู้เทคนิคในงานสถาปัตยกรรมเรือนเครื่องผูกและฝึกปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว เรือนเครื่องผูกหลังนี้จะถูกจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างประโยชน์ทางการศึกษา การเรียนรู้ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป


โครงการ NAN BCG CITY เมืองน่านสะอาด : ระบบการจัดการผลพลอยได้จากการเกษตรและขยะเปียกในชุมชนจังหวัดน่านเพื่อสร้างโอกาสด้านอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำและหนอนแมลงทหารเสือ 

     

ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FIN CMU) จัดทำโครงการ NAN BCG CITY เมืองน่านสะอาด : ระบบการจัดการผลพลอยได้จากการเกษตรและขยะเปียกในชุมชนจังหวัดน่านเพื่อสร้างโอกาสด้านอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำและหนอนแมลงทหารเสือ ดำเนินงานโดยการจัดหลักสูตรอบรมการเลี้ยง BSF เพื่อสร้างอาชีพขึ้น ในการแนะนำกระบวนการเลี้ยง ขั้นตอนการจัดการ หนอน การเก็บเกี่ยวผลผลิตของหนอน BSF อย่างง่าย รวมถึงขั้นตอนการจัดการโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงหนอน BSF ข้อควร ระวังในการเลี้ยง ให้แก่ผู้สนใจศึกษาในการนำไปประกอบอาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนที่สามารถถ่ายทอดนวัตกรรมด้านการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยแมลงทหารเสือที่สามารถประยุกต์ใช้และขยายผลต่อได้, เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับชุมชนในพื้นที่และแพลตฟอร์มออนไลน์ทีสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน และเพื่อสร้างหลักสูตรนอกตำราเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนสำหรับการนำไปสร้างอาชีพและรายได้ โดยระยะเวลาดำเนินโครงการะรหว่าง 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567


Upskill / Reskill เพื่อการพัฒนาทักษะการทำงาน บนแพลตฟอร์ม CMU Lifelong Education




มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีแพลต์ฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต (CMU Lifelong Education) ซึ่งมีหลักสูตรเพื่อ Upskill / Reskill โดยมีทั้งหลักสูตรแบบ Online, Onsite และ Hybrid ทั้งหลักสูตรแบบรายครั้ง และหลักสูตรที่จัดขึ้นเป็นประจำ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในยุคดิจิทัลทุกช่วงวัย ไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหลังจากจบหลักสูตรยังได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองอีกด้วย


Source :

https://www.agri.cmu.ac.th/2017/main/overview_detail_new/981422

https://accl.cmu.ac.th/News/detail/2950

https://fin.cmu.ac.th/SDGs/FIN%20for%20SDGs%20น่านเมืองสะอาด.html

https://www.lifelong.cmu.ac.th/career-skills#content-2

แกลลอรี่
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social