CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
No. Indicator Evidence 2022
17.2 Relationships to support the goals
17.2.1 Relationships with NGOs and government for SDG policy
Does your university as a body have direct involvement in, or input into, national government or regional non-government organisations SDG policy development - including identifying problems and challenges, developing policies and strategies, modelling likely futures with and without interventions, monitoring and reporting on interventions, and enabling adaptive management? - มช. ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนเข้าร่วมการทำงาน เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนการบริหารจัดการการจัดการศึกษาทั้งระบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้เกิดการปฏิรูปด้านการศึกษาที่สร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริงในจังหวัดเชียงใหม่
- ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น UNICEF
- ละครโทรทัศน์ไทยสู่ตลาดโลก : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
17.2.2 Cross sectoral dialogue about SDGs
Does your university as a body initiate and participate in cross-sectoral dialogue about the SDGs, e.g. conferences involving government/NGOs? - เสวนานานาชาติครั้งสำคัญ ครบรอบ 55 ปี มช. “SDGs and the Role of Universities” มุ่งหาแนวทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
- การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ AED2020
- พิธีเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ EAFONS 2020
17.2.3 International collaboration data gathering for SDG
Does your university as a body participate in international collaboration on gathering or measuring data for the SDGs? - FORRU-CMU: Outreach
- INTERNATIONAL RELATIONS Faculty of Nursing
- Collaborative Network Faculty of Social Sciences
17.2.4 Collaboration for SDG best practice
Does your university as a body, through international collaboration and research, review comparative approaches and develop international best practice on tackling the SDGs? - Forests, Climate Change Mitigation and Adaptation: Higher Education Cooperation in Mekong Region (FRAME)
- Euro-Asian Collaboration for Enhancing STEM Education
- Thailand HIV/AIDS and Infectious Disease Clinical Trials Unit
17.2.5 Collaboration with NGOs for SDGs
Does your university as a body collaborate with NGOs to tackle the SDGs through: - Global Tree Seed Bank Program: FORRU-CMU
1. FORRU, CMU has been funded by Garfield Weston Foundation in the Global seed bank project. (research, educational resources)
- ช้างเหล็กรั้วม่วง จับมือหลายสถาบัน ทำ MOU จิตอาสาพิทักษ์ศาสนสถาน กับมูลนิธินายช่างไทยใจอาสา
2. Thai Technician Foundation has collaborated with Faculty of Faculty of Engineering in setting up volunteers programs on fixing and maintaining temples around Chiang Mai (Student Volunteers)
- มช. ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิโครงการหลวง
3. CMU signed an academic cooperation agreement with the Royal Project Foundation (Research, Educational resources)
17.3 Publication of SDG reports
17.3.1 Please indicate if your university publishes progress against SDG1
  - SDG Report
- CMU SDG 1 Case Studies
17.3.2 Please indicate if your university publishes progress against SDG2
  - SDG Report
- CMU SDG 2 Case Studies
17.3.3 Please indicate if your university publishes progress against SDG3
  - SDG Report
- CMU SDG 3 Case Studies
- รายงานประจำปี 2563 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17.3.4 Please indicate if your university publishes progress against SDG4
  - SDG Report
- CMU SDG 4 Case Studies
- Good University 2020
17.3.5 Please indicate if your university publishes progress against SDG5
  - SDG Report
- CMU SDG 5 Case Studies
- วารสารสตรีนิยม
17.3.6 Please indicate if your university publishes progress against SDG6
  - SDG Report
- CMU SDG 6 Case Studies
17.3.7 Please indicate if your university publishes progress against SDG7
  - SDG Report
- CMU SDG 7 Case Studies
- รายงานประจำปี 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์
17.3.8 Please indicate if your university publishes progress against SDG8
  - SDG Report
- CMU SDG 8 Case Studies
- แผนและผลการพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development: HRD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17.3.9 Please indicate if your university publishes progress against SDG9
  - SDG Report
- CMU SDG 9 Case Studies
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยและนวัตกรรม
17.3.10 Please indicate if your university publishes progress against SDG10
  - SDG Report
- CMU SDG 10 Case Studies
- DSS CMU วารสารการศึกษาพิเศษ
17.3.11 Please indicate if your university publishes progress against SDG11
  - SDG Report
- CMU SDG 11 Case Studies
- รายงานประจำปีสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ปี 2563
17.3.12 Please indicate if your university publishes progress against SDG12
  - SDG Report
- CMU SDG 12 Case Studies
- ข่าวศูนย์ข่าวชีวมวล สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค
17.3.13 Please indicate if your university publishes progress against SDG13
  - SDG Report
- CMU SDG 13 Case Studies
- รายงานการดำเนินงานของคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2563
17.3.14 Please indicate if your university publishes progress against SDG14
  - SDG Report
- CMU SDG 14 Case Studies
- วารสารสัตวแพทย์เชียงใหม่เพื่อชุมชน
17.3.15 Please indicate if your university publishes progress against SDG15
  - SDG Report
- CMU SDG 15 Case Studies
- วารสารสัตวแพทย์เชียงใหม่เพื่อชุมชน
17.3.16 Please indicate if your university publishes progress against SDG16
  - SDG Report
- CMU SDG 16 Case Studies
- รายงานประจำปีคณะนิติศาสตร์ ปี 2563
17.3.17 Please indicate if your university publishes progress against SDG17
  - SDG Report
- CMU SDG 17 Case Studies
- ข่าวสารกองวิเทศน์สัมพัมพันธ์
17.4 Education for the SDGs
17.4.1 Education for SDGs commitment to
meaningful education
Does your university as a body have a commitment to meaningful education around the SDGs across the university, that is relevant and applicable to all students? - หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
- แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.2560-2564) ปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระยะที่12
- มช. เดินหน้าพัฒนามหาวิทยาลัย ตามแนวทาง Sustainable Development Goals (SDGs)
17.4.2 Education for SDGs: specific courses on sustainability
Does your university as a body have dedicated courses (full degrees, or electives) that address sustainability and the SDGs? - ความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs ทั้ง 17 ด้าน กับกระบวนวิชาศึกษาทั่วไป (GE)
- หลักสูตร Master of Science Program in Sustainable Land Use and Natural
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
17.4.3 Education for SDGs in the wider community
Does your university as body have dedicated outreach educational activities for the wider community, which could include alumni, local residents, displaced people? - “อันดับแรกในใจ” ในงานวิชาการรับใช้สังคม
- อาจารย์กิจกรรมบำบัด นำทีมนักวิชาการรับใช้สังคม มช. จับมือชุมชนเข้มแข็ง ฝึกทักษะชีวิตเยาวชนหอพักนอน รร.พื้นที่สูง ขยายผลพื้นที่ต้นแบบ อ.อมก๋อย สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
- โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักเรียนแกนนำเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

โรงงาน CBG มช. คว้ารางวัลดีเด่น Thailand Energy Award 2023
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวด Thailand Energy Award 2023 ด้านพลังงานทดแทน ในประเภทโครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) พร้อมเป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศเข้าประกวดในเวที ASEAN Energy Awards 2023 ภายใต้ผลงาน “โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG-Compressed Biomethane Gas) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” การแข่งขันครั้งนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น จำนวน 208 ราย ได้รับรางวัล จำนวน 68 รางวัล

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) เป็นโครงการที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีพีพี จำกัด ในการเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัดซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานในที่พื้นที่ห่างไกลจากแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยก๊าซ CBG ที่ได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภคมาช่วยลดการใช้น้ำมัน

การดำเนินการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและติดตั้งระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ใน อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถจัดจำหน่ายก๊าซ CBG ได้มากกว่า 3.3 ล้านกิโลกรัม สามารถมูลค่าให้เกษตรกรและชุมชนกว่า 51.5 ล้านบาท เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นได้มากกว่า 5.2 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับก๊าซเพื่อขยายผลไปยังโรงงานที่มีน้ำเสียและต้องการเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนอีกด้วย

การประกวด Thailand Energy Awards 2023 จัดขึ้นโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เพื่อการแสดงความชื่นชมและยกย่องผู้มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทนที่ดำเนินการอนุรักษ์พลังานโดยสมัครใจ และขยายไปสู่ในด้านพลังานทดแทนจนประสบความสำเร็จในการดำเนินการด้านพลังาน อันมีผลงานดีเด่นจนเป็นที่ประจักษ์และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่องค์กรต่างๆ จนนำมาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

การประกวดจะแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานสร้างสรรค์ ด้านบุคลากร และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ผลการพิจารณาผลงานดีเด่นด้านพลังงานจะมาจากคณะกรรมการตัดสินการประกวด ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ / นักวิชาการ จากสถาบันการศึกษา ผู้แทนจากองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ และผู้แทนจาก พพ. จะร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านพลังงาน ผู้รับรางวัลจะเป็นหนึ่งในตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดระดับอาเซียนในเวที ASEAN Energy Awards 2023
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนางานวิจัย พร้อมด้วยบุคลากรและการเรียนการสอน เพื่อที่จะเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน มุ่งพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยไปอย่างไม่หยุดยั้ง


กิจกรรมการเรียนรู้สาธารณะในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

CMU Science Week 2023


คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาคประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2566 ภายใต้แนวคิด "Science in the VUCA world วิทยาศาสตร์ในโลกที่ผันผวน" โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบัน ให้นักเรียนได้รู้จักและทดลองกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มีส่วนช่วยให้นักเรียนรู้ความชอบและความถนัดต่อตัวเองเพื่อวางแผนในการเรียนหรือการทำงานต่อไป


     


กิจกรรมหลักประกอบด้วยการแข่งขันทักษะทางวิชาการหลากหลายรูปแบบ มีการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ได้แก่ การประกวดโครงงาน การแข่งขันวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์ วาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักวิทยาศาสตร์น้อย และกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ โดยภายในวันงาน มีนักเรียนจากหลายโรงเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมและการประกวดต่างๆ ช่วยจุดประกายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม เปิดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้นักเรียนจากภายนอกได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ร่วมกิจกรรมต่างๆ

Creative Lanna Festival


เทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Festival) จัดโดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ (ACCL CMU) เมื่อวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2566 จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เน้นเปิดพื้นที่ Creative District และมีส่วนร่วมกับเทศกาล Chiangmai Design Week ที่จัดขึ้นในช่วงเดียวกัน

   


โดยกิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนาอย่างลึกซึ้ง งานนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “แสงเหนือ” ซึ่งนำเสนอวิถีชีวิตและประเพณีของล้านนาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การฉายภาพด้วย Projection Mapping บนสถาปัตยกรรมโบราณ ผ่านแสง สี เสียง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ในพื้นที่ยามค่ำคืน งานนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเข้าถึงศิลปวัฒนธรรมล้านนา แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในย่าน CMU-Square นิมมาน และเปิดประสบการณ์ใหม่ที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและเรียนรู้ตลอด 3 วัน เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวล้านนาในการนำเสนอให้ดูน่าสนใจ เข้ากับยุคสมัย ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย 



ทั้งสองกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมกิจกรรม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมเหล่านี้ได้ถูกออกแบบการดำเนินกิจกรรม การจัดแสดง ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ได้นำไปต่อยอดในการพัฒนาตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือพัฒนาสังคมโดยรวม ปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และด้วยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ การร่วมกิจกรรมกับกิจกรรมอื่นๆ ภายในจังหวัด จะช่วยส่งเสริมให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น กลายเป็นเป็นเมืองแห่งการศึกษาที่มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น


SDGs 4 : Quality Education สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


#SDGs4 #CMUSDGs #CMU #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CMUScienceWeek #CreativeLannaFestival


Source :

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข่าวสาร - มช. จัด Creative Lannna Festival เปิดประสบการณ์งานเทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ และ Night Museum ครั้งแรก

เว็บไซต์กิจกรรม Creative Lanna Festival

Chiang Mai Design Week 2023 - Creative Lanna CMU



มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Carbon Neutral ในปี ค.ศ. 2032

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี ค.ศ. 2032 โดยกำหนดเป็น 1 ในนโยบายแผน 13 ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งสร้างต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ Carbon Neutral University นั้น จะดำเนินการตามหลัก 5 THEMEs ภายใต้ Agenda 2 ของแผนยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) 


การบริหารฟุตพริ้นท์องค์กร (Organization GHG Management)
- จัดทำและประเมิน CFO (Carbon Footprint for Organization) ขององค์กร
- การประเมินและขอรับรองตามมาตรฐาน
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
มาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
- การลดที่แหล่งกำเนิด
- การลดที่แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การลดก๊าซเรือนกระจก จากการกำจัดของเสีย
การชดเชยและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Offset & Sinks)
- จัดหาคาร์บอนเครดิตเพื่อการ Offset
- จัดหาคาร์บอนซิงค์ ปลูกป่า
การปรับตัวและความพร้อมต่อการรับมือ (Adaptation and Resilience)
- การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
- การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอบรมหลักสูตร วิจัย และความร่วมมือภายนอก (Education, Research and Outreaches)
- โครงการเพิ่มจำนวนทวีคูณ บุคลากรคาร์บอน
- ศูนย์กลางและฝึกอบรมด้านคาร์บอน
- การสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์


เป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutral University



ตัวอย่างการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral University


- การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Solar Rooftop) รวมถึงระบบผลิตพลังงานความร้อน Solar Collector ณ หอพักนักศึกษา สามารถลดค่าไฟฟ้า และลดการปล่อยคาร์บอน รวมกว่า 8,000 tCO2e/ปี


- กิจกรรมนักศึกษาที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีการรณรงค์ในการจัดการขยะอย่างครบวงจร มีการแยกชนิดของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดการ เช่น กิจกรรมรับน้องขึ้นดอยประจำปี 2566, ขบวนแห่กระทงใหญ่ “โคมคำ สุวรรณหงส์” และกิจกรรมนักศึกษาอื่นๆ ที่จัดขึ้น


           


- “รถม่วง” รถขนส่งมวลชน EV ไฟฟ้า ที่วิ่งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อลดมลพิษในอากาศ และลดความคับคั่งของการจราจรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


- เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED หรือหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้างเครื่องปรับอากาศ


- พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวิทยาเขต ช่วยให้เกิดความร่มรื่นแก่นักศึกษา บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายไปอีกทางหนึ่งด้วย


รางวัลระดับประเทศด้านลดก๊าซเรือนกระจก



จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMUI) ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองในการเป็นองค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก Climate Action Leading Organization จากเครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมถึงรางวัล Thailand Energy Award 2023 ระดับดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท ซีพีพี จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ขนาด 6 ตันต่อวัน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดโดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสามารถปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซ NGV


Source:

มช. มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี 2032 พร้อมดึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมจัดการเมืองอัจฉริยะ CMU Smart City ตอกย้ำการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน

CMU Pathway to Carbon Neutrality

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO)

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน (CMU SDGs)

โครงการของ ERDI เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality University


นศ. จิตอาสาร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนงานต่างๆของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูและรักษาธรรมชาติอยู่เป็นประจำ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จะบำรุงรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญของชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเพื่อสร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในกับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป


ตัวอย่างกิจกรรมที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2566 เช่น

จิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ "5 ชาย อาสาเพาะกล้าลดฝุ่น" นักศึกษาหอ 5 ชาย มช. ณ แปลงฟื้นฟูป่า บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566

นักศึกษาหอพักนักศึกษาชาย อาคาร 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 46 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ "5 ชาย อาสาเพาะกล้าลดฝุ่น" ณ แปลงฟื้นฟูป่า บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 โดยมีบุคลากรจากศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) เป็นวิทยากรและดูแลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง และลงมือปฏิบัติทำกิจกรรมกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย ต้นกล้า 1,500 ต้น ซึ่งเป็นการดูแลต้นกล้าหลังปลูกเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่


อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม "ดูแลเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น ครั้งที่ 1"  ดูแลต้นกล้า และเดินป่าสัมผัสธรรมชาติน้ำตกห้วยแก้ว

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ (ศูนย์ดอย) จัดกิจกรรม "ดูแลเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566"  ณ เรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น โดยมีอาสาสมัคร จำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานจากโรงแรมมีเลีย เชียงใหม่ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลกล้าไม้ ทั้งการย้ายกล้าไม้ การตัดแต่งกล้าไม้ และกระบวนการต่างๆ ในเรือนเพาะชำ โดยวิทยากรจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) 
จากนั้น อาสาสมัครได้ไปทัศนศึกษา เดินป่าเรียนรู้ระบบนิเวศป่าเต็งรัง รู้จักกับพรรณไม้ท้องถิ่นต่างๆ พร้อมแช่เท้าพักผ่อนเล่นน้ำใสไหลเย็นกันในน้ำตกห้วยแก้ว ณ เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกห้วยแก้ว-วังบัวบาน อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย กิจกรรมนี้ทุกคนได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 

อาสาสมัครร่วมปลูกป่าในกิจกรรมฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม พื้นที่ 10 ไร่ ต้นกล้า 2,260 ต้น


มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ร่วมกับ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการหลวงหนองหอย จัดกิจกรรมฟื้นฟูป่า 10 ไร่ ปลูกต้นกล้า 2,260 ต้น ภายใต้โครงการ “ฟื้นฟูป่าต้นน้ำตามรอยพ่อหลวง
แปลงฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม ปี 2566-2567" โดยอาสาสมัครจำนวน 300 คน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารพร้อมพนักงานจากโรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ ชาวบ้านในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดังกล่าว ได้เรียนรู้ขั้นตอนการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ณ แปลงฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 

โดยอาสาสมัครได้ร่วมในพิธีเปิดงานและช่วยกันปลูกต้นกล้าจำนวน 2,260 ต้น ซึ่งเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นภาคเหนือ จำนวน 27 ชนิด ได้แก่ กล้วยฤาษี มะซัก สลีนก หมอนหิน กะเหรี่ยง สะเดาช้าง มะขามป้อม มะเม่าสาย คำแสด ก่อตาหมูหลวง หัสคุณ ยมหอม มะกล่ำตาไก่ ชะมวง หาด คางคาก ตาเสือทุ่ง มะกอกเกลื้อน ผักไผ่ต้น มะคังดง แคหางค่าง จวงหอม กำพี้ หว้าขี้กวาง ตองหอม ทองหลางป่า และเสี้ยวดอกขาว


โครงการปลูกต้นไม้แนวกันชนรอบพื้นที่ดอยสุเทพเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

โครงการ "วิ่งเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ปีที่ 1" ได้นำรายได้ส่วนหนึ่งมาสนับสนุน "โครงการปลูกต้นไม้แนวกันชนรอบพื้นที่ดอยสุเทพเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน" ซึ่งดำเนินการโดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ร่วมกับภาคีหลายส่วน อาทิ สิงห์อาสา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย

โครงการได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รวมกว่า 1,400 ต้น โดยเน้นพันธุ์ไม้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและระบบนิเวศ เช่น มะค่าโมง สัก มะขามป้อม มะไฟ มะเกี๋ยง และหว้า การปลูกต้นไม้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำกินกับป่า เพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน และพัฒนาเครือข่ายดูแลไฟป่าในพื้นที่

ผลการดำเนินงานในปี 2565 พบว่าต้นไม้มีอัตราการรอดชีวิต 67% โดยในปี 2566 ได้มีการปลูกซ่อมแซมและขยายพื้นที่ปลูกไปยังหมู่บ้านอื่นๆ โครงการนี้ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาป่า โดยสนับสนุนงบประมาณให้ชุมชนจัดการดูแลต้นไม้ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่เข้มแข็ง โดยการรวมตัวของหลายภาคส่วน ทั้งคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ เพื่อร่วมกันปกป้องและดูแลผืนป่าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการฟื้นฟูป่าแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาดูแลจัดการผืนป่า ป้องกันไฟป่า และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว

กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทั้งที่จัดโดยส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจัดร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่อยู่คู่กับภาคเหนือของไทย และของประเทศไทย แต่ไม่ได้มีแค่เพียงแค่นั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์รวมของนักวิจัย องค์ความรู้ที่จะต่อยอดการดูแลรักษา พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

SDGs 15 : Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน


ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social