CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
No. Indicator Evidence 2022
11.2 Support of arts and heritage
11.2.1 Public access to buildings
Does your university as a body provide public access to buildings, monuments or natural heritage landscapes of cultural significance? - The Lanna Traditional House Museum
- ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา
- หอศิลป์ปิ่นมาลา
11.2.2 Public access to libraries
Does your university as a body provide public access to libraries including books and publications? - สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
There are several libraried throughout CMU such as 1.CMU Main library (with a minimal subscription fee for access or books loan)
- ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์
2.Library of Faculty of Medicine (Free access but subscription fee is required for books loan)
- Medical Library Faculty of Medicine
3.Library of Faculty of Science (Free access but subscription fee is required for books loan)
11.2.3 Public access to museums
Does your university as a body provide public access to museums, exhibition spaces / galleries and/or works of art and artifacts? - The Lanna Traditional House Museum
1. The Lanna Traditional House Museum, CMU (Free visit but with paid entrance fee)
- ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา
2.Lanna Architecture Center Faculty of Architecture, Chiang Mai University (Free and Paid access)
- หอศิลปมช
3.The CMU Art Center , CMU (free, paid access)
11.2.4 Public access to green spaces
Does your university as a body provide free public access to open spaces and green spaces? - ณ ลานสังคีต - อ่างแก้ว มช. จ.เชียงใหม่
- เมือง “อยู่ดีมีสุข” แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- CMU 360
11.2.5 Arts and heritage contribution
Does your university as a body contribute to local arts, in terms of number of annual public performances of university choirs / theatre groups / orchestras etc? - การแสดงบนเวที งานฉลองครบรอบ 55 ปี มช (ต่อจากช่วงแรก)
- ขบวบรถกระทง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “เฉลิมทิพยรัฏฐ์ นพบุรงามวัฒน์สง่านคร”
- โครงการพัฒนานวัตกรรมดนตรีล้านนาสร้างสรรค์ มช. 2563
11.2.6 Record and preserve cultural heritage
Does your university as a body deliver projects to record and/or preserve intangible cultural heritage such as local folklore, traditions, language, and knowledge? This can include the heritage of displaced communities. - คลังความรู้ล้านนา
- ล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาเชิงช่าง (AFCP)
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา - สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
11.4 Sustainable practices
11.4.1 Sustainable practices targets
Does your university as a body measure and set targets for more sustainable commuting (walking, cycling or other non-motorized transport, vanpools, carpools, shuttlebus or public transportation, motorcycle, scooter or moped, or electric vehicles)? - โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities- Clean Energy)
- เมือง “อยู่ดีมีสุข” แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ขส.มช.
11.4.2 Promote sustainable commuting
Does your university as a body undertake actions to promote the % of more sustainable commuting (e.g. provision of free or subsidised buses or shared transport schemes, provision of bicycle parking & storage facilities, provision of cycle tracks, a bicycle and pedestrian plan or policy, bicycle sharing programme, free or reduced price transit passes, car/van pool or ride sharing programme, reduced parking fees or preferential parking for carpool or vanpool users, car sharing programme, provision of electric vehicle recharging stations, preferred parking for fuel-efficient vehicles)? - สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Chiang Mai University’s free transportation
- มช. เปิดตัวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนรุ่นใหม่ ใช้พลังงานสะอาด
11.4.3 Allow remote working
Does your university as a body promote or allow telecommuting or remote working for employees as a matter of policy or standard practice, and/or offer a condensed working week to reduce employee commuting? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย (Work From Home) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการป้องกันสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน PM 2.5
- ประกาศ มช. เรื่อง มาตรการปฏิบัติงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Work from Home) ลงวันที่ 8 เมษายน 2564
- TLIC
11.4.4 Affordable housing for employees
Does your university as a body provide affordable housing for employees? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การจัดสรรที่พักมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2563
- ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรื่อง การบริการที่พักมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2553
- ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรื่อง จ้างออกแบบอาคารสวัสดิการ ที่พักสำหรับบุคคลากร (แม่เหียะ)
11.4.5 Affordable housing for students
Does your university as a body provide affordable housing for students? - สำนักงานหอพักนักศึกษา
- ระเบียบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยอัตราค่าบำรุงหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2564
- ระเบียบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563
11.4.6 Pedestrian priority on campus
Does your university as a body prioritise pedestrian access on campus? - เมือง “อยู่ดีมีสุข” แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Final Sustainable Report of Chiang Mai University for the UI Green Metric Ranking 2019
Evidence 2: On pages 111-112 and pages 131-132 of CMU Sustainability Report for UI Green metric show that CMU prioritizes pedestrian access (Walkway and Bike lanes around campus).
- กิจกรรม “Chiang Mai Bike Ride & Run 2020”
11.4.7 Local authority collab. re: planning redevelopment
Does your university as a body work with local authorities to address planning issues/development, including ensuring that local residents are able to access affordable housing? - คู่มือออนไลน์แนะนำการออกแบบพื้นถิ่นร่วมสมัยบนอาคารสาธารณะ: พื้นที่ 18 ชุมชนบนผังเมืองอนุรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่
- “อันดับแรกในใจ” ในงานวิชาการรับใช้สังคม
- ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน Universal Design Center - CMU
11.4.8 Planning development - new build standards
Does your university as a body build new buildings to sustainable standards? (If "yes", are you following a national standard or body, e.g. the world green building council, that certifies it? Please indicate.) - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
- โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities- Clean Energy)
Evidence 2: Smart Building gives details on TREES standards for several CMU buildings.
- มอบโล่จากการประกวดแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานประจำปี 2562
11.4.9 Building on brownfield sites
Does your university as a body build on brownfield sites, where possible (brownfield sites are those where there has been previous, recent building)? - พิธียกเสาเอกการก่อสร้างหอพักนักศึกษา AB CD EF GH (หอพักนักศึกษาชายอาคาร 1 เดิม)
- CMU Food Center
- โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์สุขภาพดอยคำ

โรงงาน CBG มช. คว้ารางวัลดีเด่น Thailand Energy Award 2023
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวด Thailand Energy Award 2023 ด้านพลังงานทดแทน ในประเภทโครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) พร้อมเป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศเข้าประกวดในเวที ASEAN Energy Awards 2023 ภายใต้ผลงาน “โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG-Compressed Biomethane Gas) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” การแข่งขันครั้งนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น จำนวน 208 ราย ได้รับรางวัล จำนวน 68 รางวัล

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) เป็นโครงการที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีพีพี จำกัด ในการเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัดซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานในที่พื้นที่ห่างไกลจากแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยก๊าซ CBG ที่ได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภคมาช่วยลดการใช้น้ำมัน

การดำเนินการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและติดตั้งระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ใน อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถจัดจำหน่ายก๊าซ CBG ได้มากกว่า 3.3 ล้านกิโลกรัม สามารถมูลค่าให้เกษตรกรและชุมชนกว่า 51.5 ล้านบาท เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นได้มากกว่า 5.2 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับก๊าซเพื่อขยายผลไปยังโรงงานที่มีน้ำเสียและต้องการเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนอีกด้วย

การประกวด Thailand Energy Awards 2023 จัดขึ้นโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เพื่อการแสดงความชื่นชมและยกย่องผู้มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทนที่ดำเนินการอนุรักษ์พลังานโดยสมัครใจ และขยายไปสู่ในด้านพลังานทดแทนจนประสบความสำเร็จในการดำเนินการด้านพลังาน อันมีผลงานดีเด่นจนเป็นที่ประจักษ์และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่องค์กรต่างๆ จนนำมาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

การประกวดจะแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานสร้างสรรค์ ด้านบุคลากร และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ผลการพิจารณาผลงานดีเด่นด้านพลังงานจะมาจากคณะกรรมการตัดสินการประกวด ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ / นักวิชาการ จากสถาบันการศึกษา ผู้แทนจากองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ และผู้แทนจาก พพ. จะร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านพลังงาน ผู้รับรางวัลจะเป็นหนึ่งในตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดระดับอาเซียนในเวที ASEAN Energy Awards 2023
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนางานวิจัย พร้อมด้วยบุคลากรและการเรียนการสอน เพื่อที่จะเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน มุ่งพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยไปอย่างไม่หยุดยั้ง


กิจกรรมการเรียนรู้สาธารณะในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

CMU Science Week 2023


คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาคประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2566 ภายใต้แนวคิด "Science in the VUCA world วิทยาศาสตร์ในโลกที่ผันผวน" โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบัน ให้นักเรียนได้รู้จักและทดลองกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มีส่วนช่วยให้นักเรียนรู้ความชอบและความถนัดต่อตัวเองเพื่อวางแผนในการเรียนหรือการทำงานต่อไป


     


กิจกรรมหลักประกอบด้วยการแข่งขันทักษะทางวิชาการหลากหลายรูปแบบ มีการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ได้แก่ การประกวดโครงงาน การแข่งขันวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์ วาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักวิทยาศาสตร์น้อย และกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ โดยภายในวันงาน มีนักเรียนจากหลายโรงเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมและการประกวดต่างๆ ช่วยจุดประกายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม เปิดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้นักเรียนจากภายนอกได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ร่วมกิจกรรมต่างๆ

Creative Lanna Festival


เทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Festival) จัดโดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ (ACCL CMU) เมื่อวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2566 จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เน้นเปิดพื้นที่ Creative District และมีส่วนร่วมกับเทศกาล Chiangmai Design Week ที่จัดขึ้นในช่วงเดียวกัน

   


โดยกิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนาอย่างลึกซึ้ง งานนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “แสงเหนือ” ซึ่งนำเสนอวิถีชีวิตและประเพณีของล้านนาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การฉายภาพด้วย Projection Mapping บนสถาปัตยกรรมโบราณ ผ่านแสง สี เสียง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ในพื้นที่ยามค่ำคืน งานนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเข้าถึงศิลปวัฒนธรรมล้านนา แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในย่าน CMU-Square นิมมาน และเปิดประสบการณ์ใหม่ที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและเรียนรู้ตลอด 3 วัน เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวล้านนาในการนำเสนอให้ดูน่าสนใจ เข้ากับยุคสมัย ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย 



ทั้งสองกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมกิจกรรม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมเหล่านี้ได้ถูกออกแบบการดำเนินกิจกรรม การจัดแสดง ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ได้นำไปต่อยอดในการพัฒนาตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือพัฒนาสังคมโดยรวม ปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และด้วยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ การร่วมกิจกรรมกับกิจกรรมอื่นๆ ภายในจังหวัด จะช่วยส่งเสริมให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น กลายเป็นเป็นเมืองแห่งการศึกษาที่มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น


SDGs 4 : Quality Education สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


#SDGs4 #CMUSDGs #CMU #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CMUScienceWeek #CreativeLannaFestival


Source :

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข่าวสาร - มช. จัด Creative Lannna Festival เปิดประสบการณ์งานเทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ และ Night Museum ครั้งแรก

เว็บไซต์กิจกรรม Creative Lanna Festival

Chiang Mai Design Week 2023 - Creative Lanna CMU



มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Carbon Neutral ในปี ค.ศ. 2032

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี ค.ศ. 2032 โดยกำหนดเป็น 1 ในนโยบายแผน 13 ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งสร้างต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ Carbon Neutral University นั้น จะดำเนินการตามหลัก 5 THEMEs ภายใต้ Agenda 2 ของแผนยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) 


การบริหารฟุตพริ้นท์องค์กร (Organization GHG Management)
- จัดทำและประเมิน CFO (Carbon Footprint for Organization) ขององค์กร
- การประเมินและขอรับรองตามมาตรฐาน
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
มาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
- การลดที่แหล่งกำเนิด
- การลดที่แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การลดก๊าซเรือนกระจก จากการกำจัดของเสีย
การชดเชยและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Offset & Sinks)
- จัดหาคาร์บอนเครดิตเพื่อการ Offset
- จัดหาคาร์บอนซิงค์ ปลูกป่า
การปรับตัวและความพร้อมต่อการรับมือ (Adaptation and Resilience)
- การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
- การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอบรมหลักสูตร วิจัย และความร่วมมือภายนอก (Education, Research and Outreaches)
- โครงการเพิ่มจำนวนทวีคูณ บุคลากรคาร์บอน
- ศูนย์กลางและฝึกอบรมด้านคาร์บอน
- การสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์


เป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutral University



ตัวอย่างการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral University


- การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Solar Rooftop) รวมถึงระบบผลิตพลังงานความร้อน Solar Collector ณ หอพักนักศึกษา สามารถลดค่าไฟฟ้า และลดการปล่อยคาร์บอน รวมกว่า 8,000 tCO2e/ปี


- กิจกรรมนักศึกษาที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีการรณรงค์ในการจัดการขยะอย่างครบวงจร มีการแยกชนิดของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดการ เช่น กิจกรรมรับน้องขึ้นดอยประจำปี 2566, ขบวนแห่กระทงใหญ่ “โคมคำ สุวรรณหงส์” และกิจกรรมนักศึกษาอื่นๆ ที่จัดขึ้น


           


- “รถม่วง” รถขนส่งมวลชน EV ไฟฟ้า ที่วิ่งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อลดมลพิษในอากาศ และลดความคับคั่งของการจราจรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


- เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED หรือหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้างเครื่องปรับอากาศ


- พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวิทยาเขต ช่วยให้เกิดความร่มรื่นแก่นักศึกษา บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายไปอีกทางหนึ่งด้วย


รางวัลระดับประเทศด้านลดก๊าซเรือนกระจก



จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMUI) ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองในการเป็นองค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก Climate Action Leading Organization จากเครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมถึงรางวัล Thailand Energy Award 2023 ระดับดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท ซีพีพี จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ขนาด 6 ตันต่อวัน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดโดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสามารถปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซ NGV


Source:

มช. มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี 2032 พร้อมดึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมจัดการเมืองอัจฉริยะ CMU Smart City ตอกย้ำการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน

CMU Pathway to Carbon Neutrality

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO)

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน (CMU SDGs)

โครงการของ ERDI เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality University


Museums at CMU: แหล่งเรียนรู้ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในอาคารเรียน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นให้ความรู้ ส่งเสริมงานวิจัย บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนผ่านความรู้ในหลากหลายศาสตร์และแขนงแก่นักศึกษาในระดับต่างๆ แต่ไม่เพียงแค่นั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง ที่เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ค้นหาแรงบันดาลใจ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกทางหนึ่งด้วย

หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะวิจิตรศิลป์)

ที่ตั้ง : ตรงข้ามหอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ.นิมมานเหมินท์

“หอศิลป์ มช.” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ดูแลโดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานที่ซึ่งจัดแสดงศิลปะในหลากหลายแขนง หมุนเวียนนิทรรศการไปในแต่ละช่วงเวลา ทั้งภาพวาด ภาพถ่าย ประติมากรรม ภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และกิจกรรมเสวนาด้านศิลปะ ท้องถิ่น บริการวิชาการแก่ชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดแสดงผลงานของนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์อีกด้วย โดยนิทรรศการที่จัดในบริเวณส่วนจัดนิทรรศการ สามารถเข้าชมได้ฟรี
กิจกรรมเด่นที่จัด เช่น FOFA CMU Thesis exhibition, Japanese Film Festival เป็นต้น

     

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์

     

ที่ตั้ง : ถนนคันคลองชลประทาน ติดกับแยกกาดต้นพยอม

พื้นที่สีเขียวร่มรื่นประมาณ 9 ไร่ ทิ่อยู่ติดกับหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่นำบ้านหรือเรือนโบราณ ตามสถาปัตยกรรมล้านนามาจัดแสดง โดยบ้านแต่ละหลังเป็นบ้านที่มีอยู่จริง ย้ายและนำชิ้นส่วนมาประกอบร่างสร้างขึ้นมา บูรณะด้วยส่วนประกอบที่พยายามคงความดั้งเดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วยเรือนล้านนา 10 หลัง และยุ้งข้าว 4 หลัง มีห้องนิทรรศการ Digital Mapping ภายในเรือนทรงอาณานิคม (คิวรีเปอล์) และกิจกรรม Workshop สำหรับการเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ
เมื่อช่วงวันที่ 8 – 10 ธันวาคม 2566 ภายในพื้นที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ได้จัดงานเทศกาล Creative Lanna Festival 2023 เพื่อนำเสนอวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่หลากหลาย ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ นำเทคโนโลยีต่างๆ มาประกอบการนำเสนอ เพื่อให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่มาผสมผสานกับการนำเสนอวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวล้านนา

?

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ที่ตั้ง : ถนนราชดำเนิน ตรงข้ามวัดพันเตา

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (คุ้มกลางเวียง) ตั้งอยู่ใจกลางคูเมืองเชียงใหม่ มีอายุราว 130 – 140 ปี เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ (น้อย มหาอินทร์) และสืบทอดต่อกันมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับบริจาคจากเจ้าของคนล่าสุด ให้ทางคณะนำไปเป็นพื้นที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมล้านนา
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับอิทธิพลตะวันตกในเชียงใหม่ (รูปแบบโคโลเนียล) ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 โดยมีการบูรณะตัวอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ชั้นล่างของอาคารจะเป็นนิทรรศการหมุนเวียน ไว้จัดแสดงผลงานต่างๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมพูดคุยเสวนา ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนและจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน และระเบียงสไตล์โคโลเนียล

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้ง : ถนนทางขึ้นดอยสุเทพ ข้างสวนสัตว์เชียงใหม่

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ ดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของศูนย์นี้คือการเป็นแหล่งจัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ระบบนิเวศ รวมถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในบริเวณของดอยสุเทพ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีจิตสำนึก นอกจากนี้ ศูนย์ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานและความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ดอยสุเทพ รวมถึงเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับดอยสุเทพอีกด้วย
สำหรับกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ จัดขึ้น เน้นไปที่การตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการรักษาระบบนิเวศในผืนป่า เช่น กิจกรรมเดินป่า รวมถึงมีหลักสูตรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของดอยสุเทพอย่าง “ดอยสุเทพวิทยา” ซึ่งสามารถเรียนออนไลน์ได้ทาง CMU Lifelong Education

#มช #CMUSDGs #SDG4 #SDG11 #CMU #CMUMuseum



ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social