CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
No. Indicator Evidence 2022
15.2 Supporting land ecosystems through education
15.2.1 Events about sustainable use of land
Does your university as a body support and/or organise events aimed to promote conservation and sustainable utilisation of the land, including forests and wild land? - Forest restortation event by Forest Restoration Research Unit (FORRU) 2563
- CMU Model
- มอง “เหมี้ยง” มุมใหม่ ใน “คน – ป่า - เหมี้ยง ล้านนา”
15.2.2 Sustainably farmed food on campus
Does your university as a body have policies to ensure that food on campus is sustainably farmed? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง รับสมัครผู้เช่าสภานที่และวัสดุครุภัณฑ์ เพื่อประกอบและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ร้านอาหารในอาคารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Food Safety CMU: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อาหารปลอดภัย
15.2.3 Maintain and extend current ecosystems' biodiversity
Does your university as a body work directly to maintain and extend existing ecosystems and their biodiversity, of both plants and animals, especially ecosystems under threat? - มช. เปิดเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่นแห่งแรก รวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคเหนือหายาก ตั้งเป้าเป็นแหล่งวิจัยและผลิตกล้าไม้ฟื้นฟูป่าดอยสุเทพและภาคเหนือ
- พื้นที่ปกปักทรัพยากร โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน
- โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อกักเก็บคาร์บอนที่แปลงวิจัยเกษตรป่าไม้แม่เหียะ
15.2.4 Educational programmes on ecosystems
Does your university as a body offer educational programmes on ecosystems (looking at wild flora and fauna) for local or national communities? - เทคโนโลยีการฟื้นฟูป่า หลักสูตรอบรมระยะสั้น
- Schools Program: FORRU-CMU
- Forest Restoration for Carbon Offset for Christian German School Chiang Mai (CDSC)
15.2.5 Sustainable management of land for agriculture and tourism (edu outreach)
Does your university as a body offer educational programme/outreach for local or national communities on sustainable management of land for agriculture and tourism? - Forest Restoration for Carbon Offset for Christian German School Chiang Mai (CDSC)
- การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตพืชผักปลอดสารพิษ การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการตลาดสินค้าเกษตร
- มช. ขับเคลื่อน CMU Model สร้างชุมชนต้นแบบ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและแก้ปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน
15.3 Supporting land ecosystems through action
15.3.1 Sustainable use, conservation and restoration of land (policy)
Does your university as a body have a policy to ensure the conservation, restoration and sustainable use of terrestrial ecosystems associated with the university, in particular forests, mountains and drylands? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการจัดการสำนักงานสีเขียว
- พื้นที่ปกปักทรัพยากร โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน
- Doi Suthep Nature Center
15.3.2 Monitoring IUCN and other conservation species (policies)
Does your university as a body have a policy to identify, monitor and protect any IUCN Red Listed species and national conservation list species with habitats in areas affected by the operation of your university? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการจัดการสำนักงานสีเขียว
- Global Tree Seed Bank Program: FORRU-CMU
- พื้นที่ปกปักทรัพยากร โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน
15.3.3 Local biodiversity included in planning and devt
Does your university as a body include local biodiversity into any planning and development process (e.g. construction of new buildings)? - โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities- Clean Energy)
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มช. เปิดเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่นแห่งแรก รวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคเหนือหายาก ตั้งเป้าเป็นแหล่งวิจัยและผลิตกล้าไม้ฟื้นฟูป่าดอยสุเทพและภาคเหนือ
15.3.4 Alien species impact reduction (policies)
Does your university as a body have a policy to reduce the impact of alien species on Campus? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการจัดการสำนักงานสีเขียว
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15.3.5 Collaboration for shared land ecosystems
Does your university as a body collaborate with the local community, e.g. through partnerships, in efforts to maintain shared land ecosystems? - ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ คณะวิทยาศาสตร์ มช ฟื้นฟู?ป่าดอยสุเทพหลังไฟไหม้อย่างไร?.... ให้ยั่งยืน"
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผสานพลังเพื่อพัฒนาพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา จังหวัดเชียงใหม
- “รักษ์ป่า รักชีวิต เนรมิตผืนป่าสู่ชุมชน” นำนักศึกษาจิตอาสา ปลูกต้นไม้ 1,000 ต้น ณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยที่ 3
15.4 Land sensitive waste disposal
15.4.1 Water discharge guidelines and standards
Does your university as a body have water quality standards and guidelines for water discharges (to uphold water quality in order to protect ecosystems, wildlife, and human health and welfare, etc.)? - งานบริการสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง หน่วยกำจัดน้ำเสีย
- ระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15.4.2 Policy on plastic waste reduction
Does your university as a body have a policy on reducing plastic waste on campus? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการงดถุงพลาสติกหูหิ้วในการประกอบกิจการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการงดใช้โฟมในการบรรจุอาหารเพื่อจำหน่ายภานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม
15.4.3 Policy on hazardous waste disposal
Does your university as a body have a policy, process or practice on waste disposal - covering hazardous materials? - ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- แนวทางจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล
- ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน

นศ. จิตอาสาร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนงานต่างๆของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูและรักษาธรรมชาติอยู่เป็นประจำ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จะบำรุงรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญของชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเพื่อสร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในกับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป


ตัวอย่างกิจกรรมที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2566 เช่น

จิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ "5 ชาย อาสาเพาะกล้าลดฝุ่น" นักศึกษาหอ 5 ชาย มช. ณ แปลงฟื้นฟูป่า บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566

นักศึกษาหอพักนักศึกษาชาย อาคาร 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 46 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ "5 ชาย อาสาเพาะกล้าลดฝุ่น" ณ แปลงฟื้นฟูป่า บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 โดยมีบุคลากรจากศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) เป็นวิทยากรและดูแลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง และลงมือปฏิบัติทำกิจกรรมกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย ต้นกล้า 1,500 ต้น ซึ่งเป็นการดูแลต้นกล้าหลังปลูกเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่


อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม "ดูแลเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น ครั้งที่ 1"  ดูแลต้นกล้า และเดินป่าสัมผัสธรรมชาติน้ำตกห้วยแก้ว

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ (ศูนย์ดอย) จัดกิจกรรม "ดูแลเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566"  ณ เรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น โดยมีอาสาสมัคร จำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานจากโรงแรมมีเลีย เชียงใหม่ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลกล้าไม้ ทั้งการย้ายกล้าไม้ การตัดแต่งกล้าไม้ และกระบวนการต่างๆ ในเรือนเพาะชำ โดยวิทยากรจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) 
จากนั้น อาสาสมัครได้ไปทัศนศึกษา เดินป่าเรียนรู้ระบบนิเวศป่าเต็งรัง รู้จักกับพรรณไม้ท้องถิ่นต่างๆ พร้อมแช่เท้าพักผ่อนเล่นน้ำใสไหลเย็นกันในน้ำตกห้วยแก้ว ณ เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกห้วยแก้ว-วังบัวบาน อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย กิจกรรมนี้ทุกคนได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 

อาสาสมัครร่วมปลูกป่าในกิจกรรมฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม พื้นที่ 10 ไร่ ต้นกล้า 2,260 ต้น


มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ร่วมกับ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการหลวงหนองหอย จัดกิจกรรมฟื้นฟูป่า 10 ไร่ ปลูกต้นกล้า 2,260 ต้น ภายใต้โครงการ “ฟื้นฟูป่าต้นน้ำตามรอยพ่อหลวง
แปลงฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม ปี 2566-2567" โดยอาสาสมัครจำนวน 300 คน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารพร้อมพนักงานจากโรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ ชาวบ้านในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดังกล่าว ได้เรียนรู้ขั้นตอนการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ณ แปลงฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 

โดยอาสาสมัครได้ร่วมในพิธีเปิดงานและช่วยกันปลูกต้นกล้าจำนวน 2,260 ต้น ซึ่งเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นภาคเหนือ จำนวน 27 ชนิด ได้แก่ กล้วยฤาษี มะซัก สลีนก หมอนหิน กะเหรี่ยง สะเดาช้าง มะขามป้อม มะเม่าสาย คำแสด ก่อตาหมูหลวง หัสคุณ ยมหอม มะกล่ำตาไก่ ชะมวง หาด คางคาก ตาเสือทุ่ง มะกอกเกลื้อน ผักไผ่ต้น มะคังดง แคหางค่าง จวงหอม กำพี้ หว้าขี้กวาง ตองหอม ทองหลางป่า และเสี้ยวดอกขาว


โครงการปลูกต้นไม้แนวกันชนรอบพื้นที่ดอยสุเทพเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

โครงการ "วิ่งเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ปีที่ 1" ได้นำรายได้ส่วนหนึ่งมาสนับสนุน "โครงการปลูกต้นไม้แนวกันชนรอบพื้นที่ดอยสุเทพเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน" ซึ่งดำเนินการโดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ร่วมกับภาคีหลายส่วน อาทิ สิงห์อาสา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย

โครงการได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รวมกว่า 1,400 ต้น โดยเน้นพันธุ์ไม้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและระบบนิเวศ เช่น มะค่าโมง สัก มะขามป้อม มะไฟ มะเกี๋ยง และหว้า การปลูกต้นไม้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำกินกับป่า เพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน และพัฒนาเครือข่ายดูแลไฟป่าในพื้นที่

ผลการดำเนินงานในปี 2565 พบว่าต้นไม้มีอัตราการรอดชีวิต 67% โดยในปี 2566 ได้มีการปลูกซ่อมแซมและขยายพื้นที่ปลูกไปยังหมู่บ้านอื่นๆ โครงการนี้ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาป่า โดยสนับสนุนงบประมาณให้ชุมชนจัดการดูแลต้นไม้ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่เข้มแข็ง โดยการรวมตัวของหลายภาคส่วน ทั้งคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ เพื่อร่วมกันปกป้องและดูแลผืนป่าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการฟื้นฟูป่าแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาดูแลจัดการผืนป่า ป้องกันไฟป่า และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว

กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทั้งที่จัดโดยส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจัดร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่อยู่คู่กับภาคเหนือของไทย และของประเทศไทย แต่ไม่ได้มีแค่เพียงแค่นั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์รวมของนักวิจัย องค์ความรู้ที่จะต่อยอดการดูแลรักษา พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

SDGs 15 : Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน


นโยบายและการดำเนินงานด้านการประกอบอาหารและการบริโภค เพื่อคุณภาพและความปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยและความยั่งยืนด้านอาหารเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างมาตรฐานอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยจัดทำนโยบายการประกอบอาหารและการบริโภคที่เน้นการใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการจัดการที่เป็นระบบตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบจนถึงการบริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งนักศึกษา บุคลากร รวมถึงประชาชนได้รับความมั่นใจในความสะอาด ปลอดภัยของอาหารและวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ที่มีจัดจำหน่ายอยู่ภายในมหาวิทยาลัย โดยนโยบายครอบคลุมทั้งส่วนงานที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรอย่างคณะเกษตรศาสตร์ รวมถึงการจัดจำหน่ายอาหารของผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการประกอบอาหารและการบริโภค เพื่อคุณภาพ ความปลอดภัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2566

นโยบายการประกอบอาหารและการบริโภคของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งเน้นการสร้างระบบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และยั่งยืน โดยครอบคลุมสามด้านหลัก ด้านแรกคือคุณภาพวัตถุดิบ กำหนดให้ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์จากฟาร์ม GAP อาหารทะเลจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย และผักผลไม้ตามฤดูกาลจากท้องถิ่น ด้านที่สองคือความปลอดภัยของอาหาร โดยเน้นการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บวัตถุดิบไปจนถึงการเสิร์ฟอาหาร และต้องผ่านการตรวจประเมินจากโครงการ Food Safety CMU ด้านที่สามคือความยั่งยืน มีการรณรงค์ให้ลดขยะอาหาร จัดการของเสียอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำมันทอดซ้ำอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้ความดูแลของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร เป็นศูนย์ในการรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรระหว่างเกษตรกร ผู้บริโภค โดยมีทั้งผลผลิตจากฟาร์มของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกษตรกรที่ร่วมกับหน่วยตรวจสอบย้อนกลับฯ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
การตรวจสอบทำได้ง่ายๆ โดยการสแกน QR Code ที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ ที่จะบอกถึงระยะเวลาของกระบวนการต่างๆ ที่ตั้งของฟาร์มต้นทาง กระบวนการผลิตหรือเก็บเกี่ยวของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ตามแนวทาง BCG Model


โครงการการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ และศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นปลูกและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ สามารถจัดจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค และสามารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจได้นำแนวทางไปใช้
ส่วนของการจัดจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตรจะถูกนำไปตรวจสอบคุณภาพ และนำเข้าฐานข้อมูลของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้า หลังจากนั้นจะนำไปจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง Offline (ร้านผักปลอดสาร, ตลาดอาหารปลอดภัย, ร้านคู่ค้า) และ Online (กลุ่มซื้อขาย LINE) รวมถึงการจัดจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการอาหารภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2 (พ.ศ. 2566)


โดยในปีที่สอง โครงการดำเนินงานด้วยความร่วมมือของคณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (ERDI) อุทยานวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี (STEP) และกลุ่มตลาดปลอดสารพิษอาหารปลอดภัย ในการพัฒนาการใช้พื้นที่และปรับปรุงกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economic Model

การดำเนินการของโครงการนี้ โดยในส่วนของต้นน้ำ ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ ได้ปรับปรุงคอกวัวสาธิตเพื่อใหมูลวัวและน้ำล้างคอกถูกนำไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งตะกอนจากกระบวนการนี้จะใช้ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงข้าวโพดหวานปลอดสารพิษ ส่วนของกระบวนการกลางน้ำ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงและข้าวโพดหวาน พร้อมทั้งสำรวจตลาดในการจัดจำหน่ายและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและมีความน่าสนใจ ส่วนของปลายน้ำ หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมรณรงค์ในการจัดการขยะอยางเหมาะสม การลดใช้ถุงพลาสติก และสร้างความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษให้กับผู้บริโภค
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ คือ มีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการปลูก รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผักที่ปลูกด้วยแนวทางของ BCG Economic Model การจัดการของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และการสร้างเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายสินค้าเกษตร ซึ่งตอบโจทย์พันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการส่งเสริม Biopolis (SO1)


SDG 15 : Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน


Source:




ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social