CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 2 ขจัดหิวโหย
No. Indicator Evidence 2022
2.2 Campus Food Waste
2.2.1 Campus food waste tracking
Does your university as a body measure the amount of food waste generated from food served within the university? If food provision is outsourced this will include requiring this data to be tracked. - ฐานข้อมูลโรงขยะและ CBG มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.3 Student Hunger
2.3.1 Student food insecurity and hunger
Does your university as a body have a programme in place on student food insecurity/hunger? - “โครงการรับอาหารฟรี” โครงการดีๆ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มช. ร่วมปันสุข ผ่านตู้ปันน้ำใจ
- โครงการ “ตู้อาหารปันสุข” เพื่อลดผลกระทบด้านอาหารให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อน โดยการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันสิ่งดีๆแก่สังคม คณะเกษตรศาสตร์
2.3.2 Students and staff hunger interventions
Does your university as a body provide interventions to prevent or alleviate hunger among students and staff? (e.g. including supply and access to food banks/pantries) - มช. ร่วมปันสุข ผ่านตู้ปันน้ำใจ
- “โครงการรับอาหารฟรี” โครงการดีๆ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กิจกรรม "ปลูกผักเพราะรักกัน คณะเศรษฐศาสตร์
2.3.3 Sustainable food choices on campus
Does your university as a body provide sustainable food choices for all on campus, including vegetarian and vegan food? - พิกัดร้านอาหาร ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Food Safety
- CMU Food Cente อัปเดตร้านเปิดให้บริการ
- FB Page ร้านเกษตร มช. สินค้าเกษตรแปรรูปเพื่อสุขภาพ
2.3.4 Healthy and affordable food choices
Does your university as a body provide healthy and affordable food choices for all on campus? - ร้านโครงการหลวง สาขาสุเทพ มูลนิธิโครงการหลวง
- FB Page ร้านเกษตร มช. สินค้าเกษตรแปรรูปเพื่อสุขภาพ
- โครงการอาหารปลอดภัย
2.5 National Hunger
2.5.1 Access to food security knowledge
Does your university as a body provide access on food security and sustainable agriculture and aquaculture knowledge, skills or technology to local farmers and food producers? - ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์
- ข่าวฝากประชาสัมพันธ์: การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสำหรับเมล็ดพืช (Postharvest Management System for Durable Crops) ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา
- กิจกรรมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรและ
อาหาร ภายใต้โครงการยกระดับการแข่งขันในระบบธุรกิจการเกษตร ตามแผนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
2.5.2 Events for local farmers and food producers
Does your university as a body provide events for local farmers and food producers to connect and transfer knowledge? - โครงการ Smart Bee คณะวิทย์ มช. จัดอบรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งในประเทศไทย
- อบรม “การผลิตสตรอว์เบอร์รีปลอดภัยภายใต้โรงเรือนอัตโนมัติ" รุ่น2 คณะเกษตรศาสตร์
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามหลักการ BEDO Concept กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (กาแฟ น้ำผึ้ง)
2.5.3 University access to local farmers and food producers
Does your university as a body provide access to university facilities (e.g. labs, technology, plant stocks) to local farmers and food producers to improve sustainable farming practices? - เปิดแล้ว โรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร บริการใหม่เพื่อการผลิตสินค้านวัตกรรมอาหารด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ
- Agro-Industrial Business Service Center
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำนมและอาหารสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ มช.
2.5.4 Sustainable food purchases
Does your university as a body prioritise purchase of products from local, sustainable sources? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง รับสมัครผู้เช่าสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ฯ
Evidence 1: On-Page 4. states that all restaurants should use products from green and clean for foods preparation.
- #XraySuandok EP.8 : งานโภชนาการ
- Food Safety CMU: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อาหารปลอดภัย

นโยบายและการดำเนินงานด้านการประกอบอาหารและการบริโภค เพื่อคุณภาพและความปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยและความยั่งยืนด้านอาหารเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างมาตรฐานอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยจัดทำนโยบายการประกอบอาหารและการบริโภคที่เน้นการใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการจัดการที่เป็นระบบตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบจนถึงการบริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งนักศึกษา บุคลากร รวมถึงประชาชนได้รับความมั่นใจในความสะอาด ปลอดภัยของอาหารและวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ที่มีจัดจำหน่ายอยู่ภายในมหาวิทยาลัย โดยนโยบายครอบคลุมทั้งส่วนงานที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรอย่างคณะเกษตรศาสตร์ รวมถึงการจัดจำหน่ายอาหารของผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการประกอบอาหารและการบริโภค เพื่อคุณภาพ ความปลอดภัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2566

นโยบายการประกอบอาหารและการบริโภคของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งเน้นการสร้างระบบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และยั่งยืน โดยครอบคลุมสามด้านหลัก ด้านแรกคือคุณภาพวัตถุดิบ กำหนดให้ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์จากฟาร์ม GAP อาหารทะเลจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย และผักผลไม้ตามฤดูกาลจากท้องถิ่น ด้านที่สองคือความปลอดภัยของอาหาร โดยเน้นการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บวัตถุดิบไปจนถึงการเสิร์ฟอาหาร และต้องผ่านการตรวจประเมินจากโครงการ Food Safety CMU ด้านที่สามคือความยั่งยืน มีการรณรงค์ให้ลดขยะอาหาร จัดการของเสียอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำมันทอดซ้ำอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้ความดูแลของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร เป็นศูนย์ในการรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรระหว่างเกษตรกร ผู้บริโภค โดยมีทั้งผลผลิตจากฟาร์มของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกษตรกรที่ร่วมกับหน่วยตรวจสอบย้อนกลับฯ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
การตรวจสอบทำได้ง่ายๆ โดยการสแกน QR Code ที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ ที่จะบอกถึงระยะเวลาของกระบวนการต่างๆ ที่ตั้งของฟาร์มต้นทาง กระบวนการผลิตหรือเก็บเกี่ยวของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ตามแนวทาง BCG Model


โครงการการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ และศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นปลูกและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ สามารถจัดจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค และสามารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจได้นำแนวทางไปใช้
ส่วนของการจัดจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตรจะถูกนำไปตรวจสอบคุณภาพ และนำเข้าฐานข้อมูลของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้า หลังจากนั้นจะนำไปจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง Offline (ร้านผักปลอดสาร, ตลาดอาหารปลอดภัย, ร้านคู่ค้า) และ Online (กลุ่มซื้อขาย LINE) รวมถึงการจัดจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการอาหารภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2 (พ.ศ. 2566)


โดยในปีที่สอง โครงการดำเนินงานด้วยความร่วมมือของคณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (ERDI) อุทยานวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี (STEP) และกลุ่มตลาดปลอดสารพิษอาหารปลอดภัย ในการพัฒนาการใช้พื้นที่และปรับปรุงกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economic Model

การดำเนินการของโครงการนี้ โดยในส่วนของต้นน้ำ ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ ได้ปรับปรุงคอกวัวสาธิตเพื่อใหมูลวัวและน้ำล้างคอกถูกนำไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งตะกอนจากกระบวนการนี้จะใช้ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงข้าวโพดหวานปลอดสารพิษ ส่วนของกระบวนการกลางน้ำ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงและข้าวโพดหวาน พร้อมทั้งสำรวจตลาดในการจัดจำหน่ายและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและมีความน่าสนใจ ส่วนของปลายน้ำ หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมรณรงค์ในการจัดการขยะอยางเหมาะสม การลดใช้ถุงพลาสติก และสร้างความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษให้กับผู้บริโภค
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ คือ มีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการปลูก รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผักที่ปลูกด้วยแนวทางของ BCG Economic Model การจัดการของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และการสร้างเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายสินค้าเกษตร ซึ่งตอบโจทย์พันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการส่งเสริม Biopolis (SO1)


SDG 15 : Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน


Source:




“ตลาดคุณธรรม” ตลาดเพื่อความยั่งยืน

เราอาจจะเคยเห็นรูปหรือข่าวร้านขายผักผลไม้ข้างทางของประเทศญี่ปุ่น ที่จะวางไว้พร้อมติดราคา ข้างๆมีกล่องใส่เงิน ที่ให้ผู้ซื้อ หยิบ จ่าย และทอนเงินเอง !? เราต่างคิดกันว่าประเทศญี่ปุ่นทำได้เพราะประชากรมีความซื่อสัตย์ ไม่ขโมยของ แต่ก็ไม่ใช่ว่านอกประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีอะไรแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น ตลาดคุณธรรม ของส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่



โครงการตลาดคุณธรรมภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น เริ่มต้นจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร ในปี พ.ศ. 2562 ได้จัดกิจกรรม “ตลาดคุณธรรมจริยธรรม” ขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรใช้ทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ แต่ละคน นำอาหาร พืชผักสวนครัวที่มี มาจำหน่าย ผู้ซื้อสามารถเลือกสินค้าและจ่ายเงินตามราคาสินค้าที่ผู้จำหน่ายติดไว้ด้วยตนเอง ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตให้กับบุคลากร นักศึกษา และผู้มาติดต่องาน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพึ่งพาตนเองอีกด้วย



โครงการนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงมีการนำกิจกรรมนี้ไปปฏิบัติในส่วนงานอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น สำนักงานมหาวิทยาลัย, คณะวิจิตรศิลป์, คณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้น โดยบุคลากรที่เข้าร่วมจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน QR Code ในละปีการศึกษา มีกลุ่ม Line ของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการในการรับทราบกำหนดการและตกลงข้อกำหนดในการดำเนินงานของตลาดคุณธรรมร่วมกัน โดยส่วนของคณะมนุษยศาสตร์ ให้นักศึกษาได้ร่วมขายสินค้าในตลาดคุณธรรมของคณะมนุษยศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ได้มีการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ขึ้น ผู้คนพยายามเลี่ยงการพบปะกัน เลี่ยงการสัมผัส เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ โครงการตลาดคุณธรรมจึงตอบโจทย์ในสภาวะและรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ รวมถึงการชำระเงินผ่านทางการสแกน QR Code เพิ่มเติมจากการจ่ายเงิน-ทอนเงินสดด้วยตนเองเพื่อลดการสัมผัสเงินสด และเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ซื้อและผู้ขาย

“ตลาดคุณธรรม” เป็นมากกว่าแค่โครงการตลาดขายของ แต่เป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตแบบพอเพียง บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ต่อกัน ช่วยสร้างสังคมที่น่าอยู่และยั่งยืนสำหรับทุกคน และเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดในการทำธุรกิจของผู้ที่สนใจ “ตลาดคุณธรรม” จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นเมล็ดพันธุ์ที่งอกงาม พร้อมที่จะขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ เพื่อร่วมสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ทุกคน


SDGs 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน


Source:

โครงการตลาดคุณธรรมจริยธรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2562)

"ตลาดคุณธรรม คณะมนุษยศาสตร์" (พ.ศ. 2563)

กิจกรรม “ตลาดคุณธรรม” FINE ARTS MARKET คณะวิจิตรศิลป์ (พ.ศ. 2565)

จดหมายข่าวสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 7 ฉบับที่ 71 เดือนเมษายน พ.ศ. 2565


ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social