CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 4 การศึกษาที่เท่าเทียม
No. Indicator Evidence 2022
4.3 Lifelong learning measures
4.3.1 Public resources (lifelong learning)
Does your university as a body provide access to educational resources for those not studying at the university, e.g. computers, library, online courses, access to lectures, etc? - CMU MOOC which offers various courses which most of them are free for anyone who are interested
- CMU Main library offers several free online courses and useful knowledge for anyone who are interested
- CMU School of Lifelong Education offers various courses including university courses (paid), webinars (free), short courses (free or paid) and some courses can be accumulated in CMU credit bank system for applying a CMU degree
4.3.2 Public events (lifelong learning)
Does your university as a body host events at university that are open to the general public: public lectures, community educational events? - คณะวิทย์ มช. จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ยกขบวนความสุขและวิทยาศาสตร์สุดสร้างสรรค์มารวมกัน ที่ มช.
- CMU OPEN HOUSE ONLINE 2021
- เทศกาลศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองเชียงใหม่ “Chiang Mai Crafts Fair 2020” ครั้งที่ 4
4.3.3 Vocational training events (lifelong learning)
Does your university as a body host events at university that are open to the general public: executive education programmes (this refers to short courses for people who are not attending the university; this specifically excludes courses like MBA) and/or vocational training? - โครงการฝึกอบรมศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก
- โครงการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง รุ่นที่ 3
- ศูนย์บริการพยาบาล หลักสูตรอบรมประจำปี 2563
4.3.4 Education outreach activities beyond campus
Does your university as a body undertake educational outreach activities (e.g. tailored lectures or demonstrations) beyond campus, e.g. in local schools, in the community, including voluntary student-run schemes? - คณาจารย์และนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยแก่นักเรียนและชุมชนบนพื้นที่สูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- คณะศึกษาศาสตร์ มช. มุ่งผลักดันโรงเรียนเอกชนนำร่องสู่พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
- ค่ายอาสาพยาบาล มช. พัฒนาสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ณ บ้านแม่คองซ้าย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
4.3.5 Lifelong learning access policy
Does your university as a body have a policy that ensures that access to these activities is accessible to all, regardless of ethnicity, religion, disability, immigration status or gender? - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
- พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551
- งานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ

ก้าวทันโลกได้ทุกช่วงวัย ไปกับ CMU Lifelong Education

สร้างรูปแบบการเรียนรู้ ที่ไม่จำกัดเพียงแค่ "นักศึกษา" เพราะเราทุกคนคือ "ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต"


ในยุคโลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่คอนเซปหรือแนวคิดอย่างในอดีต แต่เป็นความจำเป็นในยุคสมัยนี้ที่ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าใจและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้พัฒนาหลักสูตรและก่อตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” หรือ “CMU School Lifelong Education” เพื่อสนับสนุน “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือที่เรียกว่า “Lifelong Learning” โดยมีแพลตฟอร์มเพื่อให้ทั้งบุคคลทั่วไป นักศึกษา และบุคลากรสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ เพิ่มความรู้ความสามารถให้กับตนเองในด้านที่สนใจ ตรงกับความมุ่งมั่นของหน่วยงานที่จะ “สร้างระบบนิเวศด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเชื่อมโยงคุณค่าของมหาวิทยาลัยสู่สังคม” และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่กล่าวไว้ว่า “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม”


แพลตฟอร์ม CMU Lifelong Education

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เดิมนั้นได้มีหลักสูตรสำหรับเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า CMU MOOC ทั้งเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเอง และบนเว็บไซต์ Thai MOOC ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานที่ดูแลการผลิตสื่อและหลักสูตรคือ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC CMU)”

ต่อมาในปี พ.ศ.2563 ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ ในชื่อเว็บไซต์ “www.lifelong.cmu.ac.th” ที่ปรับปรุงระบบให้สามารถใช้งานและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา มีระบบการเก็บประวัติการเรียน ติดตามความก้าวหน้าในการเรียน มีระบบออกประกาศนียบัตรหลังเรียนจบหลักสูตร โดยมีหลักสูตรจำนวนมากที่สามารถเข้าเรียนได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือถ้าหลักสูตรใดมีค่าใช้จ่าย นักศึกษา และบุคลากร จะได้รับการยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมหลักสูตรเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


หลักสูตรของ CMU Lifelong Education

CMU Lifelong Education มีหลักสูตรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของทุกช่วงวัย ทั้งหลักสูตรอบรมระยะสั้น, เรียนร่วม (Advanced@CMU), เกษียณมีดี และ Skill4Life

  • หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Upskill/Reskill) เป็นหลักสูตรระยะสั้น ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่ตนเองสนใจได้ เพื่อทบทวนหรือเพิ่มความรู้ให้กับตนเอง เดิมชื่อว่า CMU MOOC
  • เรียนร่วม (Advanced@CMU) เป็นหลักสูตรที่คณะต่างๆ เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก นักเรียน หรือนักศึกษาทุกสถาบัน ได้เข้ามาเรียนร่วมกับนักศึกษา มช. ในวิชาทั้งระดับปริญญาตรีหรือบัณฑิตศึกษา ในรูปแบบ Non-Degree โดยเก็บเป็นหน่วยกิตไว้สำหรับนำมาเทียบรายวิชาเมื่อเข้ามาเรียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เกษียณมีดี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ“ พลังเกษียณสร้างชาติ” ซึ่งมุ่งเน้น การสร้างระบบนิเวศ การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยหลักสูตรจะเน้นด้านการเพิ่มความรู้ การใช้เครื่องมือที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำรงชีวิต การรู้เท่าทันมิจฉาชีพ สร้างภูมิคุ้มกันต่อโลกออนไลน์
  • Skill4Life หลักสูตรเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในการทำงาน โดยมีทั้งหมด 4 ด้าน คือ ทักษะด้านปัญญา / การทำงานร่วมกับผู้อื่น / ด้านความเป็นผู้นำ และด้านดิจิทัล



CMU MOOC 

                         นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมี CMU MOOC (Chiang Mai University Massive Open Online Course)  เป็น platform การเรียนรู้ออนไลน์ที่ให้บริการหลักสูตรแบบเปิดในหลากหลายสาขาวิชา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในปัจจุบันและอนาคต


                         จุดประสงค์ของ CMU MOOC คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย สามารถเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาความรู้จากหลักสูตรคุณภาพสูงโดยไม่ต้องเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ และมีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามเวลาที่สะดวก นอกจากนี้ เมื่อเรียนจบหลักสูตรใน CMU MOOC และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะได้รับ ใบประกาศนียบัตร ออนไลน์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใบประกาศนียบัตรนี้สามารถนำไปใช้ยืนยันความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรนั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานหรือการพัฒนาทักษะในอนาคต 


 


การศึกษาตลอดชีวิต ช่วยสังคมไทยอย่างไร

การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ช่วยให้ผู้คนในสังคมได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ที่มีคุณภาพ สามารถให้ผู้ที่เรียนรู้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านหน้าที่การงาน หรือการพัฒนาตนเองในเรื่องที่สนใจ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับผู้คนในสังคม และสิ่งที่สำคัญคือเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม เพราะไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาเรียนได้ ตอบสนองกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) ในข้อ SDGs 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ

SDG 4 : Quality Education สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้หลักสูตรของ CMU Lifelong Education สามารถเข้าเรียนได้ทางเว็บไซต์ www.lifelong.cmu.ac.th หรือถ้าต้องการสอบถามข้อมูลหรือติดตามข่าวสาร สามารถติดตามได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้ Facebook : www.facebook.com/CMUlifelong LINE : @cmulifelong

สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้หลักสูตรของ CMU MOOC  สามารถเข้าเรียนได้ทางเว็บไซต์ https://mooc.cmu.ac.th/th/home 

Source:

CMU Lifelong Education

CMU MOOC

National Geographic: CMU Lifelong Educationพื้นที่สาธารณะที่ตั้งใจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน


กิจกรรมการเรียนรู้สาธารณะในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

CMU Science Week 2023


คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาคประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2566 ภายใต้แนวคิด "Science in the VUCA world วิทยาศาสตร์ในโลกที่ผันผวน" โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบัน ให้นักเรียนได้รู้จักและทดลองกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มีส่วนช่วยให้นักเรียนรู้ความชอบและความถนัดต่อตัวเองเพื่อวางแผนในการเรียนหรือการทำงานต่อไป


     


กิจกรรมหลักประกอบด้วยการแข่งขันทักษะทางวิชาการหลากหลายรูปแบบ มีการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ได้แก่ การประกวดโครงงาน การแข่งขันวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์ วาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักวิทยาศาสตร์น้อย และกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ โดยภายในวันงาน มีนักเรียนจากหลายโรงเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมและการประกวดต่างๆ ช่วยจุดประกายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม เปิดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้นักเรียนจากภายนอกได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ร่วมกิจกรรมต่างๆ

Creative Lanna Festival


เทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Festival) จัดโดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ (ACCL CMU) เมื่อวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2566 จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เน้นเปิดพื้นที่ Creative District และมีส่วนร่วมกับเทศกาล Chiangmai Design Week ที่จัดขึ้นในช่วงเดียวกัน

   


โดยกิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนาอย่างลึกซึ้ง งานนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “แสงเหนือ” ซึ่งนำเสนอวิถีชีวิตและประเพณีของล้านนาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การฉายภาพด้วย Projection Mapping บนสถาปัตยกรรมโบราณ ผ่านแสง สี เสียง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ในพื้นที่ยามค่ำคืน งานนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเข้าถึงศิลปวัฒนธรรมล้านนา แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในย่าน CMU-Square นิมมาน และเปิดประสบการณ์ใหม่ที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและเรียนรู้ตลอด 3 วัน เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวล้านนาในการนำเสนอให้ดูน่าสนใจ เข้ากับยุคสมัย ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย 



ทั้งสองกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมกิจกรรม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมเหล่านี้ได้ถูกออกแบบการดำเนินกิจกรรม การจัดแสดง ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ได้นำไปต่อยอดในการพัฒนาตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือพัฒนาสังคมโดยรวม ปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และด้วยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ การร่วมกิจกรรมกับกิจกรรมอื่นๆ ภายในจังหวัด จะช่วยส่งเสริมให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น กลายเป็นเป็นเมืองแห่งการศึกษาที่มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น


SDGs 4 : Quality Education สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


#SDGs4 #CMUSDGs #CMU #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CMUScienceWeek #CreativeLannaFestival


Source :

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข่าวสาร - มช. จัด Creative Lannna Festival เปิดประสบการณ์งานเทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ และ Night Museum ครั้งแรก

เว็บไซต์กิจกรรม Creative Lanna Festival

Chiang Mai Design Week 2023 - Creative Lanna CMU



Museums at CMU: แหล่งเรียนรู้ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในอาคารเรียน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นให้ความรู้ ส่งเสริมงานวิจัย บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนผ่านความรู้ในหลากหลายศาสตร์และแขนงแก่นักศึกษาในระดับต่างๆ แต่ไม่เพียงแค่นั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง ที่เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ค้นหาแรงบันดาลใจ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกทางหนึ่งด้วย

หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะวิจิตรศิลป์)

ที่ตั้ง : ตรงข้ามหอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ.นิมมานเหมินท์

“หอศิลป์ มช.” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ดูแลโดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานที่ซึ่งจัดแสดงศิลปะในหลากหลายแขนง หมุนเวียนนิทรรศการไปในแต่ละช่วงเวลา ทั้งภาพวาด ภาพถ่าย ประติมากรรม ภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และกิจกรรมเสวนาด้านศิลปะ ท้องถิ่น บริการวิชาการแก่ชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดแสดงผลงานของนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์อีกด้วย โดยนิทรรศการที่จัดในบริเวณส่วนจัดนิทรรศการ สามารถเข้าชมได้ฟรี
กิจกรรมเด่นที่จัด เช่น FOFA CMU Thesis exhibition, Japanese Film Festival เป็นต้น

     

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์

     

ที่ตั้ง : ถนนคันคลองชลประทาน ติดกับแยกกาดต้นพยอม

พื้นที่สีเขียวร่มรื่นประมาณ 9 ไร่ ทิ่อยู่ติดกับหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่นำบ้านหรือเรือนโบราณ ตามสถาปัตยกรรมล้านนามาจัดแสดง โดยบ้านแต่ละหลังเป็นบ้านที่มีอยู่จริง ย้ายและนำชิ้นส่วนมาประกอบร่างสร้างขึ้นมา บูรณะด้วยส่วนประกอบที่พยายามคงความดั้งเดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วยเรือนล้านนา 10 หลัง และยุ้งข้าว 4 หลัง มีห้องนิทรรศการ Digital Mapping ภายในเรือนทรงอาณานิคม (คิวรีเปอล์) และกิจกรรม Workshop สำหรับการเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ
เมื่อช่วงวันที่ 8 – 10 ธันวาคม 2566 ภายในพื้นที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ได้จัดงานเทศกาล Creative Lanna Festival 2023 เพื่อนำเสนอวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่หลากหลาย ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ นำเทคโนโลยีต่างๆ มาประกอบการนำเสนอ เพื่อให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่มาผสมผสานกับการนำเสนอวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวล้านนา

?

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ที่ตั้ง : ถนนราชดำเนิน ตรงข้ามวัดพันเตา

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (คุ้มกลางเวียง) ตั้งอยู่ใจกลางคูเมืองเชียงใหม่ มีอายุราว 130 – 140 ปี เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ (น้อย มหาอินทร์) และสืบทอดต่อกันมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับบริจาคจากเจ้าของคนล่าสุด ให้ทางคณะนำไปเป็นพื้นที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมล้านนา
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับอิทธิพลตะวันตกในเชียงใหม่ (รูปแบบโคโลเนียล) ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 โดยมีการบูรณะตัวอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ชั้นล่างของอาคารจะเป็นนิทรรศการหมุนเวียน ไว้จัดแสดงผลงานต่างๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมพูดคุยเสวนา ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนและจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน และระเบียงสไตล์โคโลเนียล

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้ง : ถนนทางขึ้นดอยสุเทพ ข้างสวนสัตว์เชียงใหม่

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ ดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของศูนย์นี้คือการเป็นแหล่งจัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ระบบนิเวศ รวมถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในบริเวณของดอยสุเทพ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีจิตสำนึก นอกจากนี้ ศูนย์ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานและความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ดอยสุเทพ รวมถึงเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับดอยสุเทพอีกด้วย
สำหรับกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ จัดขึ้น เน้นไปที่การตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการรักษาระบบนิเวศในผืนป่า เช่น กิจกรรมเดินป่า รวมถึงมีหลักสูตรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของดอยสุเทพอย่าง “ดอยสุเทพวิทยา” ซึ่งสามารถเรียนออนไลน์ได้ทาง CMU Lifelong Education

#มช #CMUSDGs #SDG4 #SDG11 #CMU #CMUMuseum



CMU Library : Smart Library, Smart People
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 เพื่อให้เป็น “ศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติโดยส่วนรวม” “เป็นแหล่งสะสม ค้นคว้า วิจัย และถ่ายทอดความรู้ ตามหลักแห่งเสรีภาพทางวิชาการ โดยยึดมั่นใจสัจธรรมและคุณธรรม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ การประยุกต์ เผยแพร่ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม”

เพื่อที่สามารถจะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ “หอสมุดประจำมหาวิทยาลัย” และนั่นคือที่มาของ “หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่” (Chiang Mai University Library)

หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำหน้าที่ในการเป็นแหล่งความรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้และการวิจัยให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาแล้วรุ่นต่อรุ่น ต่อเนื่องมากว่า 60 ปี มีทรัพยากรทั้ง หนังสือ, วารสาร, วิทยานิพนธ์, นิตยสาร และสื่ออื่นๆ

(หน้าเว็บไซต์ หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)


หอสมุด ไม่ได้มีแค่ทรัพยากรที่เป็นกระดาษหรือรูปเล่ม แต่ยังมีทรัพยากรในรูปแบบรูปเล่ม และสื่อดิจิทัลที่เข้าถึงได้สะดวก และการเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านเครือข่ายหอสมุดและแหล่งงานวิจัยจากทั่วโลก การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการและให้บริการ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของสำนักหอสมุดที่อยากให้หอสมุดเข้าถึงได้ง่าย และเกิดประโยชน์มากที่สุด

ห้องสมุดประจำคณะที่กระจายอยู่ทั่วมหาวิทยาลัย ต่างมีทรัพยากรความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องให้ได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ มีระบบการจัดการที่เชื่อมโยง และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เช่นเดียวกันกับหอสมุดกลาง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการเป็น “Smart Library” ที่ตอบสนองต่อการดำเนินงานที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยดิจิทัล” (Digital University)
?

Smart Library

e-Resource

คลังสารสนเทศดิจิทัล ที่รวบรวมวิทยานิพนธ์, ผลงานทางวิชาการ ทั้งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอื่นๆในประเทศไทย รวมถึง E-Books, หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ สามารถอ่านได้จากอุปกรณ์ส่วนตัวของตัวเองที่ใดก็ได้ เพียงแค่ Log In ด้วยบัญชี CMU Account

@JumboPlus Wi-Fi

หอสมุดกลาง และห้องสมุดคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการติดตั้งโครงข่าย Wi-Fi ที่ชื่อ @JumboPlus ไว้ทั่วพื้นที่ ดูแลระบบโดยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC CMU) รองรับเทคโนโลยี Wi-Fi 6 (ax) ทำให้นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถตั้งค่าสำหรับ Auto-Login ได้สูงสุดถึง 10 อุปกรณ์


CMU Mobile App

     

CMU Mobile App ถือเป็นแอพลิเคชันประจำตัวของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนและการใช้ชีวิตภายในมหาวิทยาลัย หนึ่งในความสามารถของแอพลิเคชันนี้คือการ เข้า-ออก สถานที่ผ่านการสแกน QR Code แทนที่การแตะบัตรเพื่อเพิ่มความสะดวก เนื่องจากแทบทุกคนพกสมาร์ทโฟนติดตัวอยู่แล้ว

รวมทั้งใน CMU Mobile มีเมนู Library Services สำหรับการยืมหนังสือด้วยตนเองโดยการกรอกเลข Barcode ที่อยู่ปกหลังของหนังสือแต่ละเล่ม หรือจะยืมที่เคานเตอร์ของหอสมุดและห้องสมุดคณะแต่ละแห่ง โดยการแสดง Barcode ที่อยู่ในเมนูเดียวกัน พร้อมทั้งตรวจสอบสถานะการยืมหนังสือได้ภายใน Library Services ได้เลย แต่ถ้าบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนก็ยังสามารถใช้บริการของหอสมุดได้เช่นกัน โดยติดต่อเคานเตอร์ประชาสัมพันธ์ของหอสมุดและห้องสมุดคณะแต่ละแห่ง

CMUL Line account

LINE Official account @cmulibrary ของหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับติดตามข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับหอสมุดฯ สามารถตรวจสอบสถานะการยืม-คืนหนังสือ, จองห้องค้นคว้ากลุ่ม, ตรวจสอบตารางการอบรมประจำเดือน และการแจ้งเตือนสถานะต่างๆ

พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ, ศึกษาค้นคว้า, ประชุม และทำกิจกรรมต่างๆ


หอสมุดกลาง มีพื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ กระจายอยู่ทั้ง 4 ชั้นของอาคารหอสมุด พร้อมทั้งห้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ที่สามารถจองพื้นที่ใช้บริการได้ด้วยตนเองผ่าน CMUL Line account รวมทั้งห้อง Living Space สำหรับจัดกิจกรรม ที่รองรับผู้เข้าร่วมได้มากถึง 300 คน


เปิดพื้นที่อ่านหนังสือ 24 ชม. ในช่วงของการสอบ


1 สัปดาห์ก่อนสอบกลางภาคเรียน และสอบปลายภาคเรียน จะเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า “สัปดาห์อ่านหนังสือ” จะงดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาเตรียมตัวในการสอบ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดพื้นที่และอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา รวมถึงหอสมุดกลาง ที่จะเปิดให้บริการ 24 ชม. ในช่วงสัปดาห์อ่านหนังสือ จนถึงวันสอบวันสุดท้าย รวมทั้งมีการจัดพื้นที่จำหน่ายอาหารด้านหน้าหอสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาอีกด้วย


" SDGs 4 สนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะหอสมุดกลาง และห้องสมุดคณะ ต่างเปิดโอกาสให้นักศึกษา บุคลากร รวมทั้งบุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อศึกษาค้นคว้า เพิ่มเติมความรู้ได้ "

" SDGs 11 สนับสนุนการเป็นสถานที่สาธารณะที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้คนในมหาวิทยาลัยและชุมชน เป็นจุดนัดพบและทำกิจกรรมร่วมกัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ และยังสามารถเดินทางได้สะดวกเนื่องจากมีรถขนส่งมวลชน (รถม่วง) ให้บริการอยู่หน้าหอสมุด และอาคารของคณะต่างๆ ทั่วมหาวิทยาลัย "


การเป็น "Smart Library" ของหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และห้องสมุดคณะ จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่ใช้บริการมีทรัพยากรการเรียนรู้ที่ทันสมัย หลากหลาย และสะดวกในการเข้าถึง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาและค้นคว้าความรู้ที่สนใจได้อย่างต่อเนื่อง สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ มีพื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยปัจจัยเหล่านี้ "Smart Library" ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการกลายเป็น "Smart People" ในที่สุด

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และห้องสมุดคณะต่างๆ สามารถเข้าได้ทางเว็บไซต์ library.cmu.ac.th
หรือถ้าต้องการสอบถามข้อมูลหรือติดตามข่าวสาร สามารถติดตามได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้

Facebook: www.facebook.com/LibraryCMU

LINE: @cmulibrary

Instragram: cmu_library

Source:

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social