CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
No. Indicator Evidence 2022
13.2 Low carbon energy use
13.2.1 Low carbon energy tracking
Low carbon energy tracking - CMU SMART CITY INFORMATION
- สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ปี 2560-2562
13.3 Environmental education measures
13.3.1 Local education programmes on climate
Does your university as a body provide local education programmes or campaigns on climate change risks, impacts, mitigation, adaptation, impact reduction and early warning? - Fire Elephant CMU - ช้างไฟ
- CMU Model
- Environmental Science Research Center #ESRC
13.3.2 Climate Action Plan, shared
Does your university as a body have a university Climate Action plan, shared with local government and/or local community groups? - CMU Model
- โครงการ "เห็ดป่าคืนถิ่น สร้างป่า สร้างรายได้ สลายฝุ่นควัน" และ โครงการ "เพิ่มมูลค่าใบตองตึง เพื่อลดเชื้อไฟ สลายฝุ่นควัน และทดแทนพลาสติกกับโฟม" ถ่ายทำ VDO รายการ 2 องศา
- หลักสูตรด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ
สำหรับภาคเหนือ CMU Model
13.3.3 Co-operative planning for climate change disasters
Does your university as a body participate in co-operative planning for climate change disasters, working with government? - “FireD” แอพจัดการไฟป่า-PM2.5 เจียงใหม่
- กิจกรรมต่างๆ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันสู่เครือข่าย 9 จังหวัด” ภายใต้โครงการประเทศไทยไร้หมอกควันระยะที่ 3 (ภาคเหนือ) ในหัวข้อ แพลตฟอร์ม Big Data และระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน โดย รศ.ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม
13.3.4 Inform and support government
Does your university as a body inform and support local or regional government in local climate change disaster/risk early warning and monitoring? - Northern Thailand Air Quality Health Index (NTAQHI)
ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเหนือ
- มช. พร้อมรับมือปัญหาหมอกควันและPM.2.5 นำ 5 เทคโนโลยี ติดตามคุณภาพอากาศ
- CMU CCDC ค่าฝุ่นรายวัน
13.3.5 Environmental education collaborate with NGOs
Does your university as a body collaborate with NGOs on climate adaptation? - Forests, Climate Change Mitigation and Adaptation: Higher Education Cooperation in Mekong Region (FRAME)
- สภาลมหายใจเชียงใหม่
- ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
13.4 Commitment to carbon neutral university
Does your university as a body have a target date by which it will become carbon neutral according to the Greenhouse Gas Protocols? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Carbon Neutral ในปี ค.ศ. 2032

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี ค.ศ. 2032 โดยกำหนดเป็น 1 ในนโยบายแผน 13 ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งสร้างต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ Carbon Neutral University นั้น จะดำเนินการตามหลัก 5 THEMEs ภายใต้ Agenda 2 ของแผนยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) 


การบริหารฟุตพริ้นท์องค์กร (Organization GHG Management)
- จัดทำและประเมิน CFO (Carbon Footprint for Organization) ขององค์กร
- การประเมินและขอรับรองตามมาตรฐาน
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
มาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
- การลดที่แหล่งกำเนิด
- การลดที่แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การลดก๊าซเรือนกระจก จากการกำจัดของเสีย
การชดเชยและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Offset & Sinks)
- จัดหาคาร์บอนเครดิตเพื่อการ Offset
- จัดหาคาร์บอนซิงค์ ปลูกป่า
การปรับตัวและความพร้อมต่อการรับมือ (Adaptation and Resilience)
- การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
- การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอบรมหลักสูตร วิจัย และความร่วมมือภายนอก (Education, Research and Outreaches)
- โครงการเพิ่มจำนวนทวีคูณ บุคลากรคาร์บอน
- ศูนย์กลางและฝึกอบรมด้านคาร์บอน
- การสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์


เป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutral University



ตัวอย่างการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral University


- การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Solar Rooftop) รวมถึงระบบผลิตพลังงานความร้อน Solar Collector ณ หอพักนักศึกษา สามารถลดค่าไฟฟ้า และลดการปล่อยคาร์บอน รวมกว่า 8,000 tCO2e/ปี


- กิจกรรมนักศึกษาที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีการรณรงค์ในการจัดการขยะอย่างครบวงจร มีการแยกชนิดของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดการ เช่น กิจกรรมรับน้องขึ้นดอยประจำปี 2566, ขบวนแห่กระทงใหญ่ “โคมคำ สุวรรณหงส์” และกิจกรรมนักศึกษาอื่นๆ ที่จัดขึ้น


           


- “รถม่วง” รถขนส่งมวลชน EV ไฟฟ้า ที่วิ่งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อลดมลพิษในอากาศ และลดความคับคั่งของการจราจรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


- เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED หรือหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้างเครื่องปรับอากาศ


- พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวิทยาเขต ช่วยให้เกิดความร่มรื่นแก่นักศึกษา บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายไปอีกทางหนึ่งด้วย


รางวัลระดับประเทศด้านลดก๊าซเรือนกระจก



จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMUI) ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองในการเป็นองค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก Climate Action Leading Organization จากเครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมถึงรางวัล Thailand Energy Award 2023 ระดับดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท ซีพีพี จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ขนาด 6 ตันต่อวัน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดโดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสามารถปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซ NGV


Source:

มช. มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี 2032 พร้อมดึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมจัดการเมืองอัจฉริยะ CMU Smart City ตอกย้ำการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน

CMU Pathway to Carbon Neutrality

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO)

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน (CMU SDGs)

โครงการของ ERDI เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality University


ส่งต่อความรู้เพื่อขับเคลื่อนพลังงานทางเลือก กับศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร ERDI-CMU
ปัญหาวิกฤตโลกร้อนและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ หลายองค์กรมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emission) พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก และกระตุ้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทนได้อย่างยั่งยืน การนำขยะและของเสียกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ ๆ ยังเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

สามารถอ่านเรื่องราวของศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ได้ในบทความนี้ 
ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน



ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ที่ดำเนินงานโดยสถาบันพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU) เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการขับเคลื่อนพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานชีวมวลที่แปรรูปจากขยะประเภทต่างๆ นอกจากการปฏิบัติเพื่อจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนใกล้เคียงอย่างตำบลสุเทพ แล้วนั้น ยังเปิดพื้นที่ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการศึกษาดูงานการดำเนินงานด้านการจัดการชีวมวล เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง ดำเนินงาน และต่อยอดในส่วนงานของตน

ตัวอย่างหน่วยงานที่เข้ามาศึกษาดูงานในช่วงปี พ.ศ. 2566

หน่วยงานท้องถิ่น

กลุ่มจิตอาสา รักษ์ดี เชียงใหม่ ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะ เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากของเสียที่เป็นขยะ และกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนที่สะอาด เพื่อลดภาวะโลกร้อนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

     


คณะทำงานโครงการ Sustainable solid WASte management and Policies (SWAP) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมคณะผู้เข้าอบรม ซึ่งมาจากหลากหลายสถาบัน ได้แก่ TUHH, EUROTRAINING, FOA และ POLIBA จากสหภาพยุโรป UHST, RUA และ COMPOSTED เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ม.เชียงใหม่


     


คณะครูและนักเรียน รร.ยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาดูงานการผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในสิ่งแวดล้อม การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากของเสียที่เป็นขยะ และกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนที่สะอาด ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน


     


หน่วยงานเอกชน

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร โดยทางบริษัทฯ โดยทางบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเรื่องกระบวนการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทน หารือแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 



     


บ.เดอะนาม เรียลเอสเตท (โรงแรม Away Chiangmai) ศึกษาดูงาน Biogas Power plant ศึกษาดูงานศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน ด้วยการนำขยะไปกำจัด จนสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานที่นำกลับมาหมุนเวียนนำมาใช้ต่อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่สะอาด ทำให้สามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานที่สะอาด สามารถลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

     


บริษัท เอสซีจีซิเมนต์ ศึกษาดูงาน ระบบ Biogas ด้วยการนำขยะไปกำจัด จนสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานที่นำกลับมาหมุนเวียนนำมาใช้ต่อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่สะอาด ทำให้สามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทจะนำความรู้ ไปใช้ในการทำระบบ Biogas ในการย่อยสลายขยะมูลฝอยในจังหวัดสระบุรี ในโครงการ Saraburi Sandbox


     


หน่วยงานรัฐ/องค์กร

คณะองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เดินทางมาศึกษาดูงานด้านปศุสัตว์อย่างยั่งยืน ด้วยการนำขยะไปกำจัด จนสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานที่นำกลับมาหมุนเวียนนำมาใช้ต่อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่สะอาด ทำให้สามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานที่สะอาดได้อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ยังทำให้ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งทางด้านวิชาการที่เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมและเชื่อมโยงเครือข่ายไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการ

     

สถาบันพลังงาน มช.ให้การต้อนรับคณะดูงานจากเทศบาลนครปฐม เยี่ยมชมศึกษาดูงาน เรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ

   


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีแห่งชาติ (สวทช.) เดินทางมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากก๊าซขีวภาพ ประกอบด้วย ระบบการกักเก็บ ระบบป้อน ระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ก๊าซชีวภาพ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและต้นแบบสำหรับการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพและการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ


     


การไฟฟ้านครหลวง นำคณะผู้เข้าโครงการฝึกอบรมจากประเทศที่สาม (Third Country Training Programme : TCTP) หลักสูตร Modernization of Power Distribution System in ASEAN Countries ได้เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย เรื่อง การจัดการระบบพลังงาน พลังงานทดแทน เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ และนวัตกรรมด้านพลังงงาน
 

     


ปัจจุบันศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยข้อมูลจากรายงานประจำปี 2566 ของสถาบันวิจัยพลังงานนครพิงค์ (ERDI-CMU) ศูนย์ฯ แห่งนี้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละกว่า 900 ลูกบากศ์เมตร เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพและผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในศูนย์กว่า 5,200 กิโลวัตต์/ชั่วโมง/ปี และผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) สำหรับเติมรถยนต์ขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปีละ 18,000 กิโลกรัม/ปี ทำให้สามารถลดปริมาณการกำจัดขยะแบบฝังกลบและเผาได้กว่า 4,000 ตัน/ปี ลดการฝังกลบขยะเปียกและเศษอาหารได้ 500 ตัน/ปี และลดการฝังกลบกากไขมันได้ 125 ตัน/ปี




การดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการชีวมวลฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นั้น นอกจากการได้ช่วยลดปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนใกล้เคียงอย่าง อบต.สุเทพ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มาศึกษาดูงาน ศึกษาแนวทางการจัดการชีวมวลที่มีประสิทธิภาพ พร้อมนำความรู้ไปปรับใช้ในองค์กรของตนเอง ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้ไม่เพียงสนับสนุนการลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการนำของเสียกลับมาสร้างคุณค่าใหม่ การดำเนินงานด้านนี้ของ ERDI-CMU จึงช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและประเทศในระยะยาว


Source :

รายงานประจำปี 2566 สถาบันพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMU)

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ่มจิตอาสา รักษ์ดี เชียงใหม่ ศึกษาดูงาน การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน เพื่อลดภาวะโลกร้อน (18 ต.ค. 66)

โครงการ Sustainable solid WASte management and Policies (SWAP)เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ม.เชียงใหม่ (23 มิ.ย. 66)

คณะครูและนักเรียน รร.ยุพราช วิทยาลัย ศึกษาดูงาน การผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะ สร้างพลังงานทดแทนและ ลดภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน (7 ธ.ค. 66)

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร (30 พ.ค. 66)

บ.เดอะนาม เรียลเอสเตท Away Chiangmai ศึกษาดูงาน Biogas Power ptant เพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงงานทดแทนที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (11 ต.ค. 66)

บริษัท เอสซีจีซิเมนต์ ศึกษาดูงาน ระบบ Biogas เพื่อนำไปใช้ในการย่อยสลายขยะมูลฝอย ในจังหวัดสระบุรี ในโครงการ Saraburi Sandbox (10 พ.ย. 66)

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เดินทางมาศึกษาดูงาน การบริหารจัดการ Biogas Power plant ด้านปศุสัตว์อย่างยั่งยืน (1 พ.ย. 66)

สถาบันพลังงาน มช.ให้การต้อนรับคณะดูงานจากเทศบาลนครปฐม เยี่ยมชมศึกษาดูงาน เรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ (6 ก.ค. 66)

สวทช. เดินทางมาศึกษาดูงาน การผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ สร้างพลังงานทดแทนได้อย่างยั่งยืน (13 ธ.ค. 66)



นศ. จิตอาสาร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนงานต่างๆของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูและรักษาธรรมชาติอยู่เป็นประจำ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จะบำรุงรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญของชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเพื่อสร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในกับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป


ตัวอย่างกิจกรรมที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2566 เช่น

จิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ "5 ชาย อาสาเพาะกล้าลดฝุ่น" นักศึกษาหอ 5 ชาย มช. ณ แปลงฟื้นฟูป่า บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566

นักศึกษาหอพักนักศึกษาชาย อาคาร 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 46 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ "5 ชาย อาสาเพาะกล้าลดฝุ่น" ณ แปลงฟื้นฟูป่า บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 โดยมีบุคลากรจากศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) เป็นวิทยากรและดูแลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง และลงมือปฏิบัติทำกิจกรรมกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย ต้นกล้า 1,500 ต้น ซึ่งเป็นการดูแลต้นกล้าหลังปลูกเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่


อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม "ดูแลเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น ครั้งที่ 1"  ดูแลต้นกล้า และเดินป่าสัมผัสธรรมชาติน้ำตกห้วยแก้ว

ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ (ศูนย์ดอย) จัดกิจกรรม "ดูแลเรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566"  ณ เรือนเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น โดยมีอาสาสมัคร จำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานจากโรงแรมมีเลีย เชียงใหม่ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลกล้าไม้ ทั้งการย้ายกล้าไม้ การตัดแต่งกล้าไม้ และกระบวนการต่างๆ ในเรือนเพาะชำ โดยวิทยากรจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) 
จากนั้น อาสาสมัครได้ไปทัศนศึกษา เดินป่าเรียนรู้ระบบนิเวศป่าเต็งรัง รู้จักกับพรรณไม้ท้องถิ่นต่างๆ พร้อมแช่เท้าพักผ่อนเล่นน้ำใสไหลเย็นกันในน้ำตกห้วยแก้ว ณ เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกห้วยแก้ว-วังบัวบาน อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย กิจกรรมนี้ทุกคนได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 

อาสาสมัครร่วมปลูกป่าในกิจกรรมฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม พื้นที่ 10 ไร่ ต้นกล้า 2,260 ต้น


มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ร่วมกับ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการหลวงหนองหอย จัดกิจกรรมฟื้นฟูป่า 10 ไร่ ปลูกต้นกล้า 2,260 ต้น ภายใต้โครงการ “ฟื้นฟูป่าต้นน้ำตามรอยพ่อหลวง
แปลงฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม ปี 2566-2567" โดยอาสาสมัครจำนวน 300 คน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารพร้อมพนักงานจากโรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ ชาวบ้านในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดังกล่าว ได้เรียนรู้ขั้นตอนการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ณ แปลงฟื้นฟูป่าม่อนแจ่ม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 

โดยอาสาสมัครได้ร่วมในพิธีเปิดงานและช่วยกันปลูกต้นกล้าจำนวน 2,260 ต้น ซึ่งเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นภาคเหนือ จำนวน 27 ชนิด ได้แก่ กล้วยฤาษี มะซัก สลีนก หมอนหิน กะเหรี่ยง สะเดาช้าง มะขามป้อม มะเม่าสาย คำแสด ก่อตาหมูหลวง หัสคุณ ยมหอม มะกล่ำตาไก่ ชะมวง หาด คางคาก ตาเสือทุ่ง มะกอกเกลื้อน ผักไผ่ต้น มะคังดง แคหางค่าง จวงหอม กำพี้ หว้าขี้กวาง ตองหอม ทองหลางป่า และเสี้ยวดอกขาว


โครงการปลูกต้นไม้แนวกันชนรอบพื้นที่ดอยสุเทพเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

โครงการ "วิ่งเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ปีที่ 1" ได้นำรายได้ส่วนหนึ่งมาสนับสนุน "โครงการปลูกต้นไม้แนวกันชนรอบพื้นที่ดอยสุเทพเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน" ซึ่งดำเนินการโดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ร่วมกับภาคีหลายส่วน อาทิ สิงห์อาสา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย

โครงการได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รวมกว่า 1,400 ต้น โดยเน้นพันธุ์ไม้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและระบบนิเวศ เช่น มะค่าโมง สัก มะขามป้อม มะไฟ มะเกี๋ยง และหว้า การปลูกต้นไม้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำกินกับป่า เพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน และพัฒนาเครือข่ายดูแลไฟป่าในพื้นที่

ผลการดำเนินงานในปี 2565 พบว่าต้นไม้มีอัตราการรอดชีวิต 67% โดยในปี 2566 ได้มีการปลูกซ่อมแซมและขยายพื้นที่ปลูกไปยังหมู่บ้านอื่นๆ โครงการนี้ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาป่า โดยสนับสนุนงบประมาณให้ชุมชนจัดการดูแลต้นไม้ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่เข้มแข็ง โดยการรวมตัวของหลายภาคส่วน ทั้งคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ เพื่อร่วมกันปกป้องและดูแลผืนป่าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการฟื้นฟูป่าแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาดูแลจัดการผืนป่า ป้องกันไฟป่า และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว

กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทั้งที่จัดโดยส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจัดร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่อยู่คู่กับภาคเหนือของไทย และของประเทศไทย แต่ไม่ได้มีแค่เพียงแค่นั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์รวมของนักวิจัย องค์ความรู้ที่จะต่อยอดการดูแลรักษา พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

SDGs 15 : Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน


ร่วมวางแผนแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ในยุคที่ปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นหัวข้อที่ทุกคนให้ความสนใจ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นแค่หน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน การประชุมและการร่วมมือกันเพื่อวางแผนและจัดทำมาตรการที่ยั่งยืนจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งในวันนี้หลายฝ่ายได้มาร่วมกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่ออนาคตของเราและสิ่งแวดล้อม


การประชุมระดับชาติว่าด้วยมลพิษทางอากาศ PM2.5 ครั้งที่ 1


การประชุมระดับชาติที่จัดขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิเพื่อชมหายใจเชียงใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบทสนทนาที่เปิดกว้างและหาข้อสรุปที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 ภายใต้หัวข้อ “อากาศสะอาด: ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม” งานนี้เป็นที่รวมตัวของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหานโยบายและมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การจัดการสุขภาพ การควบคุมการเผาไหม้ในพื้นที่ทางการเกษตร ไปจนถึงการลดมลพิษจากอุตสาหกรรมและฝุ่นควันข้ามแดน


การลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การร่วมมือระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ เป็นอีกหนึ่งความพยายามสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน โดยทั้งสององค์กรเห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นในการใช้ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาร่วมกับฐานข้อมูลมลพิษอากาศที่มีอยู่ เพื่อวิเคราะห์การแพร่กระจายของมลพิษและพัฒนาแนวทางการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวางแผนและพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด


นอกจากความร่วมมือในระดับชาติแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ยังเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนงานและมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดทำแผนปฏิบัติการ Net Zero Emission การมีส่วนร่วมของหน่วยงานวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ (3E) ในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนแผนงานด้านนี้ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในกระบวนการวางแผนและดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับท้องถิ่น


SDGs 13 การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการรวมพลังจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างที่แท้จริง การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยความตั้งใจและความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกฝ่าย เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าและยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ สิ่งสำคัญคือการไม่หยุดที่แค่การประชุมและการลงนาม แต่ยังต้องนำข้อสรุปและแผนการที่ได้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และมุ่งสู่การพัฒนาแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โลกของเราและคนรุ่นต่อไปได้มีโอกาสอาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน

Source:


ประชุมระดับชาติ PM2.5 ครั้งที่ 1 ณ จ.เชียงใหม่

กรมอุตุนิยมวิทยาลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมสร้างเครือข่ายแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

ประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2566 จ.เชียงใหม่ 


ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social