CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

เป้าหมาย 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
No. Indicator Evidence 2022
3.3 Collaborations and health services
3.3.1 Current collaborations with health institutions
Does your university as a body have current collaborations with local, national or global health institutions to improve health & wellbeing outcomes? - ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว
- INTERNATIONAL RELATIONS
Faculty of Nursing
3.3.2 Health outreach programmes
Does your university as a body deliver outreach programmes and projects in the local community (which can include student volunteering programmes) to improve or promote health & wellbeing including hygiene, nutrition, family planning, sports, exercise, aging well, and other health and wellbeing related topics? - บริการชุมชน คณะเทคนิคการแพทย์
- หน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์
- หัวหน้าโครงการ Healthy CMU ประชาสัมพันธ์โครงการฯ แก่หน่วยงานรอบ มช. เพื่อบริการรับใช้สังคมและขยายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพในอนาคต Healthy Chiangmai University.
3.3.3 Shared sports facilities
Does your university as a body share sports facilities with the local community, for instance with local schools or with the general public? - บริการ สถานที่กีฬา
- แนะนำสถานที่กีฬา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.3.4

Free sexual health care for students
Does your university as a body provide students access to sexual and reproductive health-care services including information and education services? - คลินิกพิมาน
- Obstetrics and Gynaecology CMU
- Facebook Page: ช้างยิ้ม
3.3.5 Mental health support
Does your university as a body provide students and staff with access to mental health support? - บริการ CMU MIND การดูแลและให้บริการด้านสุขภาพจิต
- บ้านหลังที่สอง (คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- Science Care ดูแลใจ - คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม
3.3.6 Smoke-free policy
Does your university as a body have a "smoke-free" policy? - ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องมาตรการป้องกัน และแก้ไชปัญหาการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Green office การรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่
- ประกาศสำนักงานหอพักนักศึกษา เรื่อง การเข้าพักอาศัย ข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และบทลงโทษผู้พักอาศัยในหอพักนักศึกษา สังกัดสำนักงานหอพักนักศึกษา

นโยบายและการดำเนินงานด้านการประกอบอาหารและการบริโภค เพื่อคุณภาพและความปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยและความยั่งยืนด้านอาหารเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างมาตรฐานอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยจัดทำนโยบายการประกอบอาหารและการบริโภคที่เน้นการใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการจัดการที่เป็นระบบตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบจนถึงการบริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งนักศึกษา บุคลากร รวมถึงประชาชนได้รับความมั่นใจในความสะอาด ปลอดภัยของอาหารและวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ที่มีจัดจำหน่ายอยู่ภายในมหาวิทยาลัย โดยนโยบายครอบคลุมทั้งส่วนงานที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรอย่างคณะเกษตรศาสตร์ รวมถึงการจัดจำหน่ายอาหารของผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการประกอบอาหารและการบริโภค เพื่อคุณภาพ ความปลอดภัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2566

นโยบายการประกอบอาหารและการบริโภคของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งเน้นการสร้างระบบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และยั่งยืน โดยครอบคลุมสามด้านหลัก ด้านแรกคือคุณภาพวัตถุดิบ กำหนดให้ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์จากฟาร์ม GAP อาหารทะเลจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย และผักผลไม้ตามฤดูกาลจากท้องถิ่น ด้านที่สองคือความปลอดภัยของอาหาร โดยเน้นการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บวัตถุดิบไปจนถึงการเสิร์ฟอาหาร และต้องผ่านการตรวจประเมินจากโครงการ Food Safety CMU ด้านที่สามคือความยั่งยืน มีการรณรงค์ให้ลดขยะอาหาร จัดการของเสียอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำมันทอดซ้ำอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้ความดูแลของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร เป็นศูนย์ในการรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรระหว่างเกษตรกร ผู้บริโภค โดยมีทั้งผลผลิตจากฟาร์มของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกษตรกรที่ร่วมกับหน่วยตรวจสอบย้อนกลับฯ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
การตรวจสอบทำได้ง่ายๆ โดยการสแกน QR Code ที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ ที่จะบอกถึงระยะเวลาของกระบวนการต่างๆ ที่ตั้งของฟาร์มต้นทาง กระบวนการผลิตหรือเก็บเกี่ยวของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ตามแนวทาง BCG Model


โครงการการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ และศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นปลูกและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ สามารถจัดจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค และสามารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจได้นำแนวทางไปใช้
ส่วนของการจัดจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตรจะถูกนำไปตรวจสอบคุณภาพ และนำเข้าฐานข้อมูลของหน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้า หลังจากนั้นจะนำไปจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง Offline (ร้านผักปลอดสาร, ตลาดอาหารปลอดภัย, ร้านคู่ค้า) และ Online (กลุ่มซื้อขาย LINE) รวมถึงการจัดจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการอาหารภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2 (พ.ศ. 2566)


โดยในปีที่สอง โครงการดำเนินงานด้วยความร่วมมือของคณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (ERDI) อุทยานวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี (STEP) และกลุ่มตลาดปลอดสารพิษอาหารปลอดภัย ในการพัฒนาการใช้พื้นที่และปรับปรุงกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economic Model

การดำเนินการของโครงการนี้ โดยในส่วนของต้นน้ำ ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ ได้ปรับปรุงคอกวัวสาธิตเพื่อใหมูลวัวและน้ำล้างคอกถูกนำไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งตะกอนจากกระบวนการนี้จะใช้ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงข้าวโพดหวานปลอดสารพิษ ส่วนของกระบวนการกลางน้ำ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงและข้าวโพดหวาน พร้อมทั้งสำรวจตลาดในการจัดจำหน่ายและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและมีความน่าสนใจ ส่วนของปลายน้ำ หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมรณรงค์ในการจัดการขยะอยางเหมาะสม การลดใช้ถุงพลาสติก และสร้างความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษให้กับผู้บริโภค
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ คือ มีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการปลูก รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผักที่ปลูกด้วยแนวทางของ BCG Economic Model การจัดการของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และการสร้างเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายสินค้าเกษตร ซึ่งตอบโจทย์พันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการส่งเสริม Biopolis (SO1)


SDG 15 : Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน


Source:




ร่วมวางแผนแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ในยุคที่ปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นหัวข้อที่ทุกคนให้ความสนใจ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นแค่หน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน การประชุมและการร่วมมือกันเพื่อวางแผนและจัดทำมาตรการที่ยั่งยืนจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งในวันนี้หลายฝ่ายได้มาร่วมกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่ออนาคตของเราและสิ่งแวดล้อม


การประชุมระดับชาติว่าด้วยมลพิษทางอากาศ PM2.5 ครั้งที่ 1


การประชุมระดับชาติที่จัดขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิเพื่อชมหายใจเชียงใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบทสนทนาที่เปิดกว้างและหาข้อสรุปที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 ภายใต้หัวข้อ “อากาศสะอาด: ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม” งานนี้เป็นที่รวมตัวของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหานโยบายและมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การจัดการสุขภาพ การควบคุมการเผาไหม้ในพื้นที่ทางการเกษตร ไปจนถึงการลดมลพิษจากอุตสาหกรรมและฝุ่นควันข้ามแดน


การลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การร่วมมือระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ เป็นอีกหนึ่งความพยายามสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน โดยทั้งสององค์กรเห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นในการใช้ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาร่วมกับฐานข้อมูลมลพิษอากาศที่มีอยู่ เพื่อวิเคราะห์การแพร่กระจายของมลพิษและพัฒนาแนวทางการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวางแผนและพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด


นอกจากความร่วมมือในระดับชาติแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ยังเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนงานและมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดทำแผนปฏิบัติการ Net Zero Emission การมีส่วนร่วมของหน่วยงานวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ (3E) ในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนแผนงานด้านนี้ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในกระบวนการวางแผนและดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับท้องถิ่น


SDGs 13 การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการรวมพลังจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างที่แท้จริง การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยความตั้งใจและความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกฝ่าย เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าและยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ สิ่งสำคัญคือการไม่หยุดที่แค่การประชุมและการลงนาม แต่ยังต้องนำข้อสรุปและแผนการที่ได้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และมุ่งสู่การพัฒนาแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โลกของเราและคนรุ่นต่อไปได้มีโอกาสอาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน

Source:


ประชุมระดับชาติ PM2.5 ครั้งที่ 1 ณ จ.เชียงใหม่

กรมอุตุนิยมวิทยาลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมสร้างเครือข่ายแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

ประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2566 จ.เชียงใหม่ 


ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social