CMU SDGs

Wrapkit

การทำงานตามตัวชี้วัด

โรงงาน CBG มช. คว้ารางวัลดีเด่น Thailand Energy Award 2023
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวด Thailand Energy Award 2023 ด้านพลังงานทดแทน ในประเภทโครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) พร้อมเป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศเข้าประกวดในเวที ASEAN Energy Awards 2023 ภายใต้ผลงาน “โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG-Compressed Biomethane Gas) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” การแข่งขันครั้งนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น จำนวน 208 ราย ได้รับรางวัล จำนวน 68 รางวัล

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) เป็นโครงการที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีพีพี จำกัด ในการเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัดซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานในที่พื้นที่ห่างไกลจากแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยก๊าซ CBG ที่ได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภคมาช่วยลดการใช้น้ำมัน

การดำเนินการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและติดตั้งระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ใน อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถจัดจำหน่ายก๊าซ CBG ได้มากกว่า 3.3 ล้านกิโลกรัม สามารถมูลค่าให้เกษตรกรและชุมชนกว่า 51.5 ล้านบาท เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นได้มากกว่า 5.2 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับก๊าซเพื่อขยายผลไปยังโรงงานที่มีน้ำเสียและต้องการเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนอีกด้วย

การประกวด Thailand Energy Awards 2023 จัดขึ้นโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เพื่อการแสดงความชื่นชมและยกย่องผู้มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทนที่ดำเนินการอนุรักษ์พลังานโดยสมัครใจ และขยายไปสู่ในด้านพลังานทดแทนจนประสบความสำเร็จในการดำเนินการด้านพลังาน อันมีผลงานดีเด่นจนเป็นที่ประจักษ์และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่องค์กรต่างๆ จนนำมาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

การประกวดจะแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานสร้างสรรค์ ด้านบุคลากร และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ผลการพิจารณาผลงานดีเด่นด้านพลังงานจะมาจากคณะกรรมการตัดสินการประกวด ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ / นักวิชาการ จากสถาบันการศึกษา ผู้แทนจากองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ และผู้แทนจาก พพ. จะร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านพลังงาน ผู้รับรางวัลจะเป็นหนึ่งในตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดระดับอาเซียนในเวที ASEAN Energy Awards 2023
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนางานวิจัย พร้อมด้วยบุคลากรและการเรียนการสอน เพื่อที่จะเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน มุ่งพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยไปอย่างไม่หยุดยั้ง


มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Carbon Neutral ในปี ค.ศ. 2032

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี ค.ศ. 2032 โดยกำหนดเป็น 1 ในนโยบายแผน 13 ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งสร้างต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลักดันนโยบายการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ Carbon Neutral University นั้น จะดำเนินการตามหลัก 5 THEMEs ภายใต้ Agenda 2 ของแผนยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) 


การบริหารฟุตพริ้นท์องค์กร (Organization GHG Management)
- จัดทำและประเมิน CFO (Carbon Footprint for Organization) ขององค์กร
- การประเมินและขอรับรองตามมาตรฐาน
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- การจัดทำแผนและเป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก
มาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
- การลดที่แหล่งกำเนิด
- การลดที่แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การลดก๊าซเรือนกระจก จากการกำจัดของเสีย
การชดเชยและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Offset & Sinks)
- จัดหาคาร์บอนเครดิตเพื่อการ Offset
- จัดหาคาร์บอนซิงค์ ปลูกป่า
การปรับตัวและความพร้อมต่อการรับมือ (Adaptation and Resilience)
- การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
- การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
การอบรมหลักสูตร วิจัย และความร่วมมือภายนอก (Education, Research and Outreaches)
- โครงการเพิ่มจำนวนทวีคูณ บุคลากรคาร์บอน
- ศูนย์กลางและฝึกอบรมด้านคาร์บอน
- การสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์


เป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutral University



ตัวอย่างการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral University


- การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Solar Rooftop) รวมถึงระบบผลิตพลังงานความร้อน Solar Collector ณ หอพักนักศึกษา สามารถลดค่าไฟฟ้า และลดการปล่อยคาร์บอน รวมกว่า 8,000 tCO2e/ปี


- กิจกรรมนักศึกษาที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีการรณรงค์ในการจัดการขยะอย่างครบวงจร มีการแยกชนิดของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดการ เช่น กิจกรรมรับน้องขึ้นดอยประจำปี 2566, ขบวนแห่กระทงใหญ่ “โคมคำ สุวรรณหงส์” และกิจกรรมนักศึกษาอื่นๆ ที่จัดขึ้น


           


- “รถม่วง” รถขนส่งมวลชน EV ไฟฟ้า ที่วิ่งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อลดมลพิษในอากาศ และลดความคับคั่งของการจราจรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


- เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED หรือหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้างเครื่องปรับอากาศ


- พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวิทยาเขต ช่วยให้เกิดความร่มรื่นแก่นักศึกษา บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายไปอีกทางหนึ่งด้วย


รางวัลระดับประเทศด้านลดก๊าซเรือนกระจก



จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMUI) ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองในการเป็นองค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก Climate Action Leading Organization จากเครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมถึงรางวัล Thailand Energy Award 2023 ระดับดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท ซีพีพี จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ขนาด 6 ตันต่อวัน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดโดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสามารถปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพให้เป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซ NGV


Source:

มช. มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี 2032 พร้อมดึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมจัดการเมืองอัจฉริยะ CMU Smart City ตอกย้ำการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน

CMU Pathway to Carbon Neutrality

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO)

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน (CMU SDGs)

โครงการของ ERDI เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality University


ส่งต่อความรู้เพื่อขับเคลื่อนพลังงานทางเลือก กับศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร ERDI-CMU
ปัญหาวิกฤตโลกร้อนและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ หลายองค์กรมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emission) พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก และกระตุ้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทนได้อย่างยั่งยืน การนำขยะและของเสียกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ ๆ ยังเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

สามารถอ่านเรื่องราวของศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ได้ในบทความนี้ 
ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจรฯ ลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน



ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ที่ดำเนินงานโดยสถาบันพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU) เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการขับเคลื่อนพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานชีวมวลที่แปรรูปจากขยะประเภทต่างๆ นอกจากการปฏิบัติเพื่อจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนใกล้เคียงอย่างตำบลสุเทพ แล้วนั้น ยังเปิดพื้นที่ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการศึกษาดูงานการดำเนินงานด้านการจัดการชีวมวล เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง ดำเนินงาน และต่อยอดในส่วนงานของตน

ตัวอย่างหน่วยงานที่เข้ามาศึกษาดูงานในช่วงปี พ.ศ. 2566

หน่วยงานท้องถิ่น

กลุ่มจิตอาสา รักษ์ดี เชียงใหม่ ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะ เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากของเสียที่เป็นขยะ และกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนที่สะอาด เพื่อลดภาวะโลกร้อนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

     


คณะทำงานโครงการ Sustainable solid WASte management and Policies (SWAP) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมคณะผู้เข้าอบรม ซึ่งมาจากหลากหลายสถาบัน ได้แก่ TUHH, EUROTRAINING, FOA และ POLIBA จากสหภาพยุโรป UHST, RUA และ COMPOSTED เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ม.เชียงใหม่


     


คณะครูและนักเรียน รร.ยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาดูงานการผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในสิ่งแวดล้อม การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากของเสียที่เป็นขยะ และกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนที่สะอาด ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน


     


หน่วยงานเอกชน

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร โดยทางบริษัทฯ โดยทางบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเรื่องกระบวนการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทน หารือแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 



     


บ.เดอะนาม เรียลเอสเตท (โรงแรม Away Chiangmai) ศึกษาดูงาน Biogas Power plant ศึกษาดูงานศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน ด้วยการนำขยะไปกำจัด จนสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานที่นำกลับมาหมุนเวียนนำมาใช้ต่อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่สะอาด ทำให้สามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานที่สะอาด สามารถลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

     


บริษัท เอสซีจีซิเมนต์ ศึกษาดูงาน ระบบ Biogas ด้วยการนำขยะไปกำจัด จนสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานที่นำกลับมาหมุนเวียนนำมาใช้ต่อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่สะอาด ทำให้สามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทจะนำความรู้ ไปใช้ในการทำระบบ Biogas ในการย่อยสลายขยะมูลฝอยในจังหวัดสระบุรี ในโครงการ Saraburi Sandbox


     


หน่วยงานรัฐ/องค์กร

คณะองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เดินทางมาศึกษาดูงานด้านปศุสัตว์อย่างยั่งยืน ด้วยการนำขยะไปกำจัด จนสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานที่นำกลับมาหมุนเวียนนำมาใช้ต่อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่สะอาด ทำให้สามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานที่สะอาดได้อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ยังทำให้ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งทางด้านวิชาการที่เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมและเชื่อมโยงเครือข่ายไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการ

     

สถาบันพลังงาน มช.ให้การต้อนรับคณะดูงานจากเทศบาลนครปฐม เยี่ยมชมศึกษาดูงาน เรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ

   


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีแห่งชาติ (สวทช.) เดินทางมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากก๊าซขีวภาพ ประกอบด้วย ระบบการกักเก็บ ระบบป้อน ระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ก๊าซชีวภาพ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและต้นแบบสำหรับการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพและการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ


     


การไฟฟ้านครหลวง นำคณะผู้เข้าโครงการฝึกอบรมจากประเทศที่สาม (Third Country Training Programme : TCTP) หลักสูตร Modernization of Power Distribution System in ASEAN Countries ได้เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย เรื่อง การจัดการระบบพลังงาน พลังงานทดแทน เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ และนวัตกรรมด้านพลังงงาน
 

     


ปัจจุบันศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยข้อมูลจากรายงานประจำปี 2566 ของสถาบันวิจัยพลังงานนครพิงค์ (ERDI-CMU) ศูนย์ฯ แห่งนี้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละกว่า 900 ลูกบากศ์เมตร เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพและผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในศูนย์กว่า 5,200 กิโลวัตต์/ชั่วโมง/ปี และผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) สำหรับเติมรถยนต์ขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปีละ 18,000 กิโลกรัม/ปี ทำให้สามารถลดปริมาณการกำจัดขยะแบบฝังกลบและเผาได้กว่า 4,000 ตัน/ปี ลดการฝังกลบขยะเปียกและเศษอาหารได้ 500 ตัน/ปี และลดการฝังกลบกากไขมันได้ 125 ตัน/ปี




การดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการชีวมวลฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นั้น นอกจากการได้ช่วยลดปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนใกล้เคียงอย่าง อบต.สุเทพ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มาศึกษาดูงาน ศึกษาแนวทางการจัดการชีวมวลที่มีประสิทธิภาพ พร้อมนำความรู้ไปปรับใช้ในองค์กรของตนเอง ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้ไม่เพียงสนับสนุนการลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการนำของเสียกลับมาสร้างคุณค่าใหม่ การดำเนินงานด้านนี้ของ ERDI-CMU จึงช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและประเทศในระยะยาว


Source :

รายงานประจำปี 2566 สถาบันพลังงานนครพิงค์ มช. (ERDI-CMU)

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ่มจิตอาสา รักษ์ดี เชียงใหม่ ศึกษาดูงาน การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน เพื่อลดภาวะโลกร้อน (18 ต.ค. 66)

โครงการ Sustainable solid WASte management and Policies (SWAP)เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร ม.เชียงใหม่ (23 มิ.ย. 66)

คณะครูและนักเรียน รร.ยุพราช วิทยาลัย ศึกษาดูงาน การผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะ สร้างพลังงานทดแทนและ ลดภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน (7 ธ.ค. 66)

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร (30 พ.ค. 66)

บ.เดอะนาม เรียลเอสเตท Away Chiangmai ศึกษาดูงาน Biogas Power ptant เพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงงานทดแทนที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (11 ต.ค. 66)

บริษัท เอสซีจีซิเมนต์ ศึกษาดูงาน ระบบ Biogas เพื่อนำไปใช้ในการย่อยสลายขยะมูลฝอย ในจังหวัดสระบุรี ในโครงการ Saraburi Sandbox (10 พ.ย. 66)

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เดินทางมาศึกษาดูงาน การบริหารจัดการ Biogas Power plant ด้านปศุสัตว์อย่างยั่งยืน (1 พ.ย. 66)

สถาบันพลังงาน มช.ให้การต้อนรับคณะดูงานจากเทศบาลนครปฐม เยี่ยมชมศึกษาดูงาน เรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ (6 ก.ค. 66)

สวทช. เดินทางมาศึกษาดูงาน การผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ สร้างพลังงานทดแทนได้อย่างยั่งยืน (13 ธ.ค. 66)



ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social