CMU SDGs

ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Qualitative Risk Assessment of Foot-and-Mouth Disease Virus Introduction and Transmission to Dairy Farms via Raw Milk Transportation in Thailand: A Scenario-Based Approach ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Veterinary Sciences (Published: 27 June 2025)

CMU | 12 ก.ค. 2568
SDGs:
2 12 17

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Qualitative Risk Assessment of Foot-and-Mouth Disease Virus Introduction and Transmission to Dairy Farms via Raw Milk Transportation in Thailand: A Scenario-Based Approach ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Veterinary Sciences (Published: 27 June 2025) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 1 (Journal Impact factor 2.3), SJR Quartile 1 และ Scopus Quartile 1

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2306-7381/12/7/623

งานวิจัยเรื่อง Qualitative Risk Assessment of Foot-and-Mouth Disease Virus Introduction and Transmission to Dairy Farms via Raw Milk Transportation in Thailand: A Scenario-Based Approach มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภัยคุกคามร้ายแรงของเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยต่อปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการขนส่งน้ำนมดิบในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำ โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินโอกาสที่เชื้อไวรัสจะเข้าสู่และแพร่กระจายในฟาร์มโคนม โดยใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงตามองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (WOAH) ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านจากแบบสอบถามเกษตรกร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลการเฝ้าระวังโรคและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงโดยรวมที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย งานวิจัยนี้ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาวิธีการตรวจหาสัตว์ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการให้แม่นยำ และสร้างมาตรฐานในการประเมินความเสี่ยง เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการป้องกันการระบาดของโรคในอนาคต และส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในท้องถิ่นให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมาย 17 ด้าน ของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สอบถาม

โทรศัพท์ : +66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143

Social