CMU SDGs

CMU SDGs

ความร่วมมือเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จำนวนผู้เข้าชม : 381 | 04 พ.ย. 2567
SDGs:
11 13 17

ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อขับเคลื่อน SDGs

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการนำทรัพยากร ความรู้ ความสามารถมาพัฒนาสังคม ชุมชน ระดับประเทศ และระดับสากล เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเพื่อตอบโจทย์ปณิธานในการเป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ และพันธกิจในการบริการวิชาการเพื่อตอบแทนแผ่นดิน ตัวอย่างความร่วมมือในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วงปี พ.ศ. 2566 เช่น

โครงการ BKIND ร่วมกับ The Next Forest การบำรุงรักษาและการติดตามการฟื้นฟูป่าในหุบเขาแม่สา


โครงการนี้สนับสนุนการบำรุงรักษาและการติดตามแปลงฟื้นฟูป่าหลายแปลงในหุบเขาบริเวณตอนบนของแม่สา รวมถึงการวิจัยผลกระทบของการฟื้นฟูต่อการกักเก็บคาร์บอนในป่าและการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก THE NEXT FOREST และได้รับการสนับสนุนจากกองทุน BKIND ของธนาคารกรุงเทพ โดยแบ่งโครงการออกเป็น 3 โครงการย่อยดังนี้

- การป้องกันไฟ ในแปลงฟื้นฟูช่วงเวลาโครงการของ FORRU-CMU เหนือพื้นที่บ้านแม่สา (ที่ปลูกในแต่ละปีระหว่างปี 2539-2556) - โครงการนี้สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการดำเนินมาตรการตัดแนวกันไฟในเดือนกุมภาพันธ์และจัดชุดลาดตระเวนป่าในแต่ละวัน รวมถึงการใช้โดรนในการสำรวจเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการป้องกันไฟ

- การเปลี่ยนแปลงจากสวนสนที่เสียหายจากพายุเป็นป่าดิบเขา ที่บ้านปงไคร้ (BPK) - หลังการปลูกต้นไม้ในเดือนมิถุนายน 2565 และ 2566 โครงการ BKIND ได้สนับสนุนการบำรุงรักษาและการติดตามผล รวมถึงการตัดแนวกันไฟ โครงการนี้ยังได้จัดกิจกรรมที่ให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม ภายใต้โครงการ YFR

- ผลกระทบของการฟื้นฟูป่าต่อการกักเก็บคาร์บอนและการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ในแปลงวิจัยช่วงเวลา (chronosequence) ที่ BMSM โดยมีนักศึกษาปริญญาตรี 4 คนกำลังดำเนินการวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับผลระยะยาวของการฟื้นฟูป่าต่อการกักเก็บคาร์บอนและความหลากหลายทางชีวภาพ โดย Pyae Shan และ Jerry ศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้และดิน ในขณะที่ Nay ใช้กล้องดักถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กลับเข้ามาในพื้นที่ฟื้นฟู และ Scott กำลังติดตามความหลากหลายของชุมชนนก งานวิจัยเหล่านี้เปรียบเทียบป่าที่ฟื้นฟูมาแล้ว 12 ปี และ 24 ปีกับป่าดิบเขาที่เหลือ (ซึ่งเป็นระบบนิเวศป่าอ้างอิง) และพื้นที่เกษตรกรรม (ก่อนเริ่มการฟื้นฟู)




สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา จัดโครงการค่ายอาสาครูช่าง มช. ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านทรัพย์ตะเคียน



วันที่ 3 – 5 กุมภาพันธ์ 2566 สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา จัดโครงการค่ายอาสาครูช่าง มช. ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านทรัพย์ตะเคียน ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ทุกชั้นปี คณาจารย์ประจำสาขาวิชา ศิษย์เก่าหลักสูตรอุตสาหกรรมศึกษา อาชีวศึกษา อาจารย์สาธิต บุคลากรโรงเรียนสาธิตฯ ระดับอนุบาลและประถมศึกษา เข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้


4 หน่วยงานรวมพลัง สร้างห้องคลีนรูม และเติมอากาศดี ให้กับเด็กน้อย ในพื้นที่ อ. พร้าว


มูลนิธิเวชดุสิต ในพระอุปถัมภ์ ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฯ ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (RIHES) โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ และโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย จัดกิจกรรม คืนลมหายใจที่บริสุทธิ์ให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแม่แวน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสันปง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่ง พร้อมกับให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 แก่ครูพี่เลี้ยงเพื่อเพิ่มการรับรู้ถึงปัญหาPM2.5 อีกทั้งมอบเครื่องฟอกอากาศ และเครื่องเติมอากาศ DIY ไว้ประจำศูนย์แต่ละศูนย์ โครงการ คืนลมหายใจที่บริสุทธิ์ให้กับเด็กนี้ เป็นต้นแบบในการทำคลีนรูมสำหรับ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นๆ ต่อไป โดยจะเน้นการทำคลีนรูมให้ครบทั้ง 3 แนวทาง คือ1. การป้องกันฝุ่นจากภายนอก2. การฟอกอากาศภายในห้อง โดย เครื่องกรองอากาศ3. การเติมอากาศสะอาดเข้าไปในห้องด้วยเครื่องเติมอากาศแบบ DIY เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแม่แวน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสันปง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่ง อ. พร้าว จ. เชียงใหม่


ร่วมลงนามบันทึกความเข้าร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง

ผู้บริหารและคณาจารย์กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science Consortium) ลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี และคณะเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในทุกมิติสาขาให้สามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการ คณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และบุคลากรของมูลนิธิโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในระดับต่าง ๆ ให้มีความรู้จากการวิจัยและการศึกษาร่วมกันในทุกมิติของการพัฒนาพื้นที่สูง


?

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนากายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมสำหรับสัตว์กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนากายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมสำหรับสัตว์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์และนายแพทย์พิรุณ คำอุ่น รองเลขาธิการฯฝ่ายวิชาการและวิจัย มูลนิธิขาเทียมฯ ร่วมลงนามในฐานะพยาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ โรม จิรานุกรม รองเลขาธิการฯฝ่ายประชาสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ มูลนิธิขาเทียมฯและคณะผู้บริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมพระยาศรีวิสารวาจา สำนักงานมหาวิทยาลัย บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนากายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมสำหรับสัตว์ จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อตระหนักถึงความสำคัญในการวิจัยและพัฒนากายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมในสัตว์และการพัฒนาองค์ความรู้สัตวแพทยศาสตร์ด้านออร์โธปิดิกส์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายอุปกรณ์ศาสตร์ สำหรับสัตว์ขาพิการ เพื่อให้สัตว์ที่มีขาพิการสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นการเยียวยาและสร้างกำลังใจให้กับเจ้าของสัตว์ที่ประสบกับความพิการของขา การร่วมกันพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการด้านสัตวแพทย์สำหรับสัตว์ขาพิการ นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาของชุมชนแล้ว ยังผลักดันให้เกิดการสร้างงานวิชาการรับใช้สังคมในด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ในอนาคต โดยเฉพาะของชุมชน ท้องถิ่นและสังคมภาคเหนือ


Source:

โครงการ BKIND ร่วมกับ The Next Forest การบำรุงรักษาและการติดตามการฟื้นฟูป่าในหุบเขาแม่สา (FORRU)

4 หน่วยงานรวมพลัง สร้างห้องคลีนรูม และเติมอากาศดี ให้กับเด็กน้อย ในพื้นที่ อ. พร้าว (RIHES)

ร่วมลงนามบันทึกความเข้าร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง (คณะเกษตรศาสตร์)

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนากายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมสำหรับสัตว์กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา จัดโครงการค่ายอาสาครูช่าง มช. ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านทรัพย์ตะเคียน (คณะศึกษาศาสตร์ มช.)

Gallery
Address
Chiang Mai University. 239 Huay Kaew Road. Muang District. Chiang Mai. Thailand. 50200
Contact

Phone : +66 5394 1300
Fax : +66 5321 7143

Social